กรุณาติดตามข้อมูลและข่าวสารได้ที่...
ThaiAchira.com
และ
ThaiAchira.blogspot.com
กิจกรรมที่สวนฯ ยังคงยังมีเช่นเดิมครับ...
แต่หน้า blog จะย้ายไปปรับปรุงที่นี่...เพื่อความสะดวก ...ขอบคุณครับ
ติดต่อผู้จัดทำ (แหลม - ศักย์ภูมิ) ได้ที่ lamps08@yahoo.com
MuayChiya - ArwuutThai
...................................................................................
มวยไชยา - อาวุธไทย อีกลมหายใจ "ไท" ที่ยังคงอยู่
...................................................................................
มวยไชยา - อาวุธไทย อีกลมหายใจ "ไท" ที่ยังคงอยู่
...................................................................................
m u a y c h a i y a - a r t . b l o g s p o t . c o m
...................................................................................
วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555
แจ้งข่าว...
วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552
คลิป VDO - ดาบไทย ๒.
อาวุธไทย - สาธิต,แสดงโชว์ (คละ)
ครูแหลม, พงษ์, ป์อป
อาวุธไทย - ดาบเดี่ยว ภาค นั่งสู้ ,ลูกไม้ / สยามยุทธ์ (บ้านครูแปรง)
ครูแหลม,ป๊อป
ครูแหลม, พงษ์, ป์อป
อาวุธไทย - ดาบเดี่ยว ภาค นั่งสู้ ,ลูกไม้ / สยามยุทธ์ (บ้านครูแปรง)
ครูแหลม,ป๊อป
คลิป VDO - อาวุธไทย ๑.
อาวุธไทย - ดาบเดี่ยว, ดาบสองมือ , ดาบสามบาน (คละ)
ครูแหลม ,บ๊อป, ยิ่ง, ตัก
อาวุธไทย - ดาบเดี่ยว / สยามยุทธ์ (บ้านครูแปรง)
ครูแหลม, ป๊อป
มวยไชยา และ อาวุธไทย / สาธิตที่ บ้านไอยรา (จา พนม)
ครูแปรง, ครูแหลม, พงษ์
ครูแหลม ,บ๊อป, ยิ่ง, ตัก
อาวุธไทย - ดาบเดี่ยว / สยามยุทธ์ (บ้านครูแปรง)
ครูแหลม, ป๊อป
มวยไชยา และ อาวุธไทย / สาธิตที่ บ้านไอยรา (จา พนม)
ครูแปรง, ครูแหลม, พงษ์
วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ปาจรีย์ และครู ในสายวิชามวยไชยา
พ่อท่านมา (วัดทุ่งจับช้าง อ.พุมเรียง จ.สุราษฎร์ธานี)
ประวัติของท่านนั้นไม่มีการกล่าวหรือบันทึกไว้มากนักทราบเพียงว่า พ่อท่านมาเป็นครูมวยใหญ่ ทีเดินทางมายัง เมืองไชยา (บางก็ว่าท่านเป็น ขุนศึก หรือ แม่ทัพ ออกบวช และธุดงค์มาจากกรุงเทพฯ) เมื่อราว๑๖๕ ปีมาแล้ว สมัย ร.๓ ตอนปลาย ท่านเชี่ยวชาญวิชาการต่อสู้และมีวิชาอาคม แก่กล้า เคยมีเรื่องเล่าว่ามีช้างตกมันอาละวาด ไม่มีผู้ใดปราบได้ พ่อท่านมาได้บริกรรมคาถาแล้วใช้กะลามะพร้าวครอบจับช้างเชือกนั้นไว้ ชาวบ้านจึงได้สร้างวัดขึ้นที่ท้องทุ่งแห่งนั้นขนานนามว่า วัดทุ่งจับช้าง
.....ศิลปะมวยของท่านได้รับการถ่ายทอด สืบต่อ สู่ชาวเมืองไชยาและครูมวยต่อมาอีกหลายๆท่าน นับแต่พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) ปฐมศิษย์เบื้องต้นผู้เป็นครูมวยของหมื่นมวยมีชื่อ ( ปล่อง จำนงทอง ) ครูนิล ปักษี ครูอินทร์ ศักดิ์เดช โดยเฉพาะ หมื่นมวยมีชื่อ ที่ได้รับราชทานนามนี้จาก ล้นเกล้าในรัชกาลที่ ๕ นับเป็นเกียรติแก่ เมืองไชยา ยิ่งนัก
.....แม้ทุกวันนี้ยังมีนักมวย นักศึกษาและประชาชนเดินทางไปกราบไหว้ และรำถวายมือ หน้าเจดีย์บรรจุอัฐิพ่อท่านมา วัดทุ่งจับช้าง อำเภอพุมเรียง สุราษฎร์ธานี อยู่เสมอ ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๔ หลวงพ่อไสว อินทะวังโส ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัด และดูแลพัฒนา บริเวณวัด สร้างหลังคากันแดดฝนคลุมรักษา สถูปบรรจุอัฐิพ่อท่านมาไว้ โดยมี ชาวบ้าน และคุณยายท่านหนึ่ง ซึ่งมีศักดิ์เป็น หลานสาวของท่าน ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย ได้ร่วมกันบำรุงรักษาวัดอยู่ ต้นปี พ.ศ.๒๕๔๕ ได้ข่าวว่า หลวงพ่อไสว จะเดินทางไปจำวัดอยู่ที่นครศรีธรรมราช เป็นที่น่าเสียดาย วัดทุ่งจับช้าง ก็คงจะเป็นวัดร้าง ไร้การดูแลอีกครั้ง
*สถูปบรรจุอัฐิ พ่อท่านมา ได้รับการบูรณะใหม่
พระยาวจีสัตตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย)
พระยาวจีสัตยารักษ์ เดิมชื่อ ขำ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๘๗ ตรงกับรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ นายขำมีบุตร ๕ คน คือ ชื่อ ศรียาภัย พระยาประชุมพลขันธ์ นายจวน นายเขต และนางเฉลิม
.....นายขำ ศรียาภัย ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๔ ได้ฝึกหัดราชการอยู่ในสำนักของสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหม นายขำเป็นผู้มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี และเป็น ผู้มีความรู้ความชำนาญ หลายด้าน เช่น การค้าขาย การจับ และฝึกหัดช้าง และยังมีความสามารถในการพูดภาษาจีน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการติดต่อ ค้าขายเป็นอย่างมาก จนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชานุชิต ผู้ช่วยราชการเมืองไชยา ในรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๑๒
.....ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีราชสงคราม ปลัดเมืองไชยา และดำรงตำแหน่งนี้ เป็นเวลา ๑๐ปี มีความชอบจากการไปปราบจลาจลชาวจีนที่เมืองภูเก็ต จึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทิพยาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๕
.....พ.ศ. ๒๔๒๒ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิชิตภักดี ผู้ว่าราชการเมืองไชยา ทำความดีความชอบจนได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มัณฑยาภรณ์มงกุฎสยาม ชั้นที่๓ นิภาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่๓ เหรียญดุษฎีมาลา
.....พ.ศ.๒๔๒๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบมณฑล พระยาวิชิตภักดี ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาไวยวุฒิวิเศษฤทธิ์ จางวางเมืองไชยา
.....พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวจีสัตยารักษ์ และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลสุราภรณ์ มงกุฎสยาม ชั้นที่๒ และเหรียญจักรพรรดิมาลาเป็นเกียรติยศ
.....เนื่องจากพระยาวจีสัตยารักษ์ เป็นผู้ชำนาญเกี่ยวกับหัวเมืองชายทะเลปักษ์ใต้ ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ พระยาวจีสัตยารักษ์จึงได้ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์นำเสด็จ และเมื่อมีทางรถไฟสายใต้ ได้เป็นผู้นำตรวจทางรถไฟสายใต้เป็นครั้งแรก ตั้งแต่มณฑลปัตตานี ถึงเมืองเพชรบุรี นอกจากนี้ ยังได้สร้างคุณงามความดีอันเป็นประโยชน์อีกมากมาย
.....พระยาวจีสัตยารักษ์ และบุตรหลานได้สร้างคุณงามความดีเป็นที่ประจักษ์มิใช่เฉพาะแต่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่านั้น หากแต่ได้สร้างคุณงามความดีให้กับประเทศชาติโดยส่วนรวมอีกด้วย
.....พระยาวจีสัตยารักษ์เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรงมาโดยตลอด ท่านถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ รวมอายุได้ ๗๐ปี ปัจจุบันมีสถูปซึ่งบรรจุอัฐิของท่านและบุตรหลานในตระกูลศรียาภัย ณ เมืองไชยา(เก่า) ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
หลวงวิลาศดรุณกร (อั้น สาริกบุตร)
*ภาพนี้ถ่ายประมาณปี พ.ศ. 2492 ก่อนท่านจะเสีย
จากหนังสืองานศพของท่านครูหลวงฯ ท่านเสียไปเมื่อ ปี พ.ศ. 2492 ครับ ที่ จ. นครปฐม
...ครูหลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) อดีตครูฝ่ายปกครอง โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ( พ.ศ. 2461)
ก่อนที่จะมาอยู่ สวนฯ ท่านเคยเป็น ครูใหญ่ อยู่ที่ โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย (ครูใหญ่คนแรก),โรงเรียนปทุมคงคา
แล้ว ถึงย้ายมาอยู่ ที่ โรงเรียนสวนกุหลาบ
...ครูเขตร์ ท่านได้พูดถึง ครูหลวงวิศาลดรุณกร ในหนังสือปริทัศน์มวยไทยความว่า..." ท่าย่างสามขุม ของหลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) อาจารย์โรงเรียนสวนกุหลาบฯ พ.ศ.๒๔๖๔ (ซึ่งเป็นศิษย์เอกของ ปรมาจารย์ พระไชยโชคชกชนะ (อ้น) เจ้ากรมทนายเลือกครูมวยและครูกระบี่กระบองผู้กระเดื่องนาม ในรัชสมัย ร. ๕) และปรมาจารย์ ขุนยี่สานสรรพยากร (ครูแสงดาบ) ครูมวยและครูกระบี่กระบอง ลือชื่อ ในสมัย ร.๖ นั้น มีความกระชับรัดกุม ตรงตามแบบท่าย่างสามขุมของ ท่านมา (หลวงพ่อ) ครูมวยแห่งเมืองไชยา ท่านนับเป็นต้นสายของมวยไชยา มรดกอันล้ำค่าของคนไทย "
...ครูเขตร์ ยอมรับนับถือว่า ครูหลวงวิศาลฯ ท่านคือครูมวยคนหนึ่งของท่าน และจากการกล่าวถึงท่านย่างสามขุมคลุมแดนยักษ์ ในมวยไชยา อันเป็นท่าย่างสามขุมหลักนั้น ยังมีความละม้ายคล้ายคลึงกับ ท่าย่างสามขุม เดิมมวยแบบวังหลวง ซึ่งครูหลวงวิศาลฯ ได้รับการถ่ายทอดมาจาก พระชัยโชคชกชนะ ครูมวย
...นี่เป็นจุดเชื่อมหนึ่งที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ การสืบทอดสายวิชาว่า มวยไชยา มีรากวิชามาจาก มวยในกรุงรัตน์โกสินทร์ อย่างแท้จริง
*ภาพ ปรมาจารย์เขตร์ ยกย่างสามขุมคลุมแดนยักษ์ (ถ่ายเมื่ออายุประมาณ ๔๕ ปี)
อ.กิมเส็ง (สุนทร ทวีสิทธิ์)
หากจะกล่าวถึง มวยไชยา แล้วไม่กล่าวถึง อาจารย์กิมเส็ง ทวีสิทธิ์ ก็คงจะทำให้ ประวัติมวยไชยา ขาดหายไปบางส่วน อาจารย์กิมเส็ง ท่าน เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๓ ยานนาวา กรุงเทพฯ ช่วงอายุ ๑๔ ปีท่านได้เดินทางไปศึกษาที่ สิงคโปร์ และเริ่มเรียน ยูโด ฟันดาบ มวยสากล ที่นั้น จนได้พบกับ มร.เบเก้อร์ เจ้าของร้านขนมปัง ซึ่งเป็นครูมวยสากลฝีมือดี ได้สอนด้านทฤษฏีและปฏิบัติของ N.S.Rule จนทำให้อาจารย์กิมเส็ง มีความรู้ความชำชาญ ในมวยสากล เป็นอย่างมาก
.....และอาจารย์ท่านยังได้เรียน วิชามวยไทย ดาบไทย จากครูเขียว ในป่าเขตแดนสระบุรีกับอยุธยาอยู่ ๒ ปี จึงทำให้อาจารย์เชี่ยวชาญวิชาการต่อสู้ของไทยมากขึ้น (นอกจากวิชาที่กล่าวมาแล้ว อาจารย์ยังมีความรู้ใน วิชามวยชวาของชาวอินโดนีเซีย ที่เรียกว่า " เพนต์จ๊าก " มวยจีน "เก่ยคุ้ง "
และ ยูยิตสู การจับหักของชาวญี่ปุ่น อีกด้วย จากข้อเขียน ของ อ.เขตร์ ) ช่วงอายุ ๒๕ ปี จึงได้เริ่มชกมวยไทย หลังจากนั้นไม่นานอาจารย์ก็เริ่มสอนมวยไทยและสากล ที่บ้านข้างวัดดอน ยานนาวา มีลูกศิษย์มากมายชกชนะมากกว่าแพ้ ลูกศิษย์ท่านได้เป็น ทั้งแชมป์มวยไทยมวยสากลก็มากจนเกิดเป็น " คณะทวีสิทธิ์ "
.....พ.ศ.๒๔๗๒-๒๔๘๒ พระยาคทาธรบดี ได้เริ่มจัด สนามมวยสวนสนุกขึ้นภายในบริเวณ สวนลุมพินี และได้ชักชวนให้อาจารย์ กิมเส็งดำเนินการจัดมวย และเป็นกรรมการ จึงทำให้ชื่อเสียงของ อาจารย์กิมเส็ง เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
.....ช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๗ กระทรวงธรรมการ( กระทรวงศึกษาธิการ )จึงได้เชิญ อาจารย์กิมเส็ง เข้าสอนวิชามวยที่โรงเรียนของกระทรวง แต่งตั้งเป็น อาจารย์พละของกรมพละศึกษากลาง มีลูกศิษย์มากมายกระจายอยู่ทั่วประเทศ ที่สอนมวยและเปิดค่ายมวย ก็มาก จึงทำให้ " ท่ารำพรหมสี่หน้า " กับ " ท่าย่างสุขเกษม " แพร่หลายกลายเป็นมรดก ที่เห็นนักมวยไทยใช้รำบนเวทีกันอยู่จนทุกวันนี้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ " หงายหมัด " ซึ่ง อาจารย์ เขตร์ ท่านได้กล่าวไว้ว่า " ผิดแผกกับการตั้งท่าของมวยภาคต่างๆทั่วประเทศ " ท่าหมัดหงายไม้มวยนี้ได้เลือนหายไปจากเวทีมวยไทยปัจจุบัน อาจารย์กิมเส็ง( สุนทร ทวีสิทธิ์ ) ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฏคม พ.ศ. ๒๕๐๔ สิริอายุรวม ๗๒ ปี
ปรมาจารย์เขตร์ ศรียาภัย
ปรมาจารย์ เขตร ศรียาภัย สืบตระกูลมาจากนักรบโดยลำดับดังนี้
.....พระยาชุมพร (ซุ่ย ซุ่ยยัง) ตาทวด (พ่อของย่า) เป็นแม่ทัพไทยตีเมืองมะริดและเมืองตะนาวศรีมาขึ้นประเทศไทย
ปลายรัชกาลที่ ๒ พ.ศ.๒๓๖๗ มีลูกเขยชื่อปานซึ่งได้เป็นที่พระศรีราชสงคราม
.....พระศรีราชสงคราม (ปาน ) ปลัดเมืองไชยา (เป็นปู่) มีลูกชายชื่อขำ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๔ รับใช้
สอยในสำนักสมเด็จเจ้าาพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหมและได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นหลวงสารานุชิต ผู้ช่วยราชการเมืองไชยาเมื่ออายุ ๒๕ ปี
.....หลวงสารานุชิต (ขำ ศรียาภัย) ได้พระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระศรีราชสงคราม ปลัดเมืองไชยา (แทนบิดาซึ่งถึงแก่กรรม) เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๒
.....พระศรีราชสงคราม (ขำ ศรียาภัย) ได้ช่วยปราบจีนจลาจลที่เมืองภูเก็ตในคราวเดียวกันกับหลวงพ่อแช่ม เจ้าอาวาสวัดฉลอง ซึ่งพวกจีนติดสินบน หัว ๑๐๐๐ เหรียญ จีนจลาจลแตกพ่ายหนีกระจัดกระเจิงลงเรือใบใหญ่ ออกทะเล จึงได้รับปูนบำเหน็จความดีความชอบเลื่อยศเป็น พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองไชยา พ.ศ.๒๔๒๒ พวกจีนจลาจลที่ภูเก็ตหนีลงเรือแต่ไม่กลับเมืองจีน ได้เที่ยวปล้นตามหัวเมือง ชายทะเล ตั้งแต่ปลายอณาเขตไทย ทางใต้จนถึงเมืองเกาะหลัก คือประจวบคีรีขันท์ เรืองรบหลวง ๒ ลำ มีกำลังพล ๒๐๐ ต้องประจำรักษาเมืองภูเก็ต จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าเมืองทำการปราบปราม เวลานั้นพระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม เป็นเจ้าเมืองไชยา แต่มีหน้าที่รักษาเมืองชุมพร และ กาญจนดิษฐ์ ด้วย ได้คิดสร้างลูกระเบิดมือขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย รวบรวมพลอาสาออกปราบปรามโจรจีนสลัดในอ่าวไทยเป็นเวลา ๓ ปี
โจรจีนสลัดสงบราบคาบ จึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆเป็นบำเหน็จโดยลำดับ จนถึง พ.ศ.๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนเป็นพระยาไวยวุฒิวิเศษฤทธิ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม เพื่อประกาศความดีความชอบที่ได้สร้างลูกระเบิดมืออันเป็นอาวุธแปลกไม่เคยเห็นกันในสมัยนั้น
.....ต่อมาอีก ๗ ปี คือวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานสัญญาบัตรให้เลื่อนเป็น พระยาวจีสัตยารักษ์ มีตำแหน่งเป็นผู้กำกับการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา จนกระทั่งวันถึงแก่กรรม วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๕๗
.....เขตร ศรียาภัย เป็นลูกคนสุดท้องของพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย)
.....เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๕ ณ ตำบลหนองช้างตาย (ต.ท่าตะเภา ในปัจจุบัน) อำเภอท่าตะเภา จังหวัดชุมพร ในสมัยเด็กอายุประมาณ ๑๐ ขวบ เขตร ศรียาภัย ได้เข้าโรงเรียนมัธยมวัดสุทธิวราราม อยู่ที่บ้านทวาย ชอบกีฬาประเภทออกแรง ทุกชนิด เช่น พายเรือ ว่ายน้ำ วิ่งแข่ง ตีจับ ฯลฯ ได้เป็นที่ ๑ ในชุดวิ่งเปรี้ยวชิงชนะเลิศกับชุดโรงเรียนวัดประทุมคงคา ได้ถ้วยและ โรงเรียนมัธยมวัดสุทธิวราราม มีชื่อทางวิ่งเปรี้ยวแต่นั้นมา
ได้ลาออกเพื่อเข้าโรงเรียนอัสสัมชัญเมื่ออายุได้ ๑๓ ปี เพราะทนถูกรังแกจากนักเรียนที่ใหญ่กว่าไม่ไหว ณ โรงเรียนฝรั่งแห่งใหม่กลับร้ายกว่า โรงเรียนเดิมเพราะมีนักเรียนมากกว่า ๓ เท่า เขตร ศรียาภัย ต้องทนมือทนตีนอยู่ ๓ ปี อันเป็นปฐมเหตุแห่งความพยายามศึกษาวิชาต่อสู้ ซึ่งมีครูดี ๆ รวม ๑๒ ท่าน คือ
๑. พระยาวจีสัตยารักษ์ ( ขำ ศรียาภัย ) เจ้าเมืองไชยา -บิดาบังเกิดเกล้า
๒. ครูกลัด ศรียาภัย ผู้บังคับการเรือกลไฟรัศมี -อา
๓. หมื่นมวยมีชื่อ ( ปล่อง จำนงทอง )
๔. ครูกลับ อินทรกลับ
๕. ครูสอง ครูมวยบ้านนากะตาม อำเภอท่าแซะ
๖.ครูอินทร์ สักเดช ครูมวยบ้านท่าตะเภา
๗. ครูดัด กาญจนากร ครูมวยบ้านหนองทองคำ
๘. ครูสุก เนตรประไพ ครูมวยบ้านแสงแดด
๙. ครูวัน ผลพฤกษา ครูมวยตำบลศาลเจ้าตาแป๊ะโป
๑๐. อาจารย์ ม.จ.วิบูลย์สวัสดิวงศ์ สวัสดิกุล
๑๑. ครู (กิมเส็ง)สุนทร ทวีสิทธิ์ ปรมาจารย์มวยมีชื่อในพระนคร อาจารย์สอนมวยกรมพละศึกษา
๑๒. อาจารย์ หลวงวิศาลดรุณากร
.....เมื่ออายุ ๑๙ ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ อาจารย์ เขตร ได้ไปดูการฝึกมวยที่บ้าน อาจารย์กิมเส็ง และเกิดความสนใจใน " หงายหมัด " ของค่ายทวีสิทธิ์ อีกหนึ่งปีต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔ อาจารย์เขตร จึงได้นำดอกไม้ธูปเทียน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาวม้า และขันน้ำ ไปกราบขอเป็นศิษย์กับ อาจารย์กิมเส็ง ในวัน พฤหัสบดีอันเป็น " วันครู " ตามคติโบราณ ได้อยู่ร่ำเรียนรับใช้ ไปมาหาสู่กับ อาจารย์กิมเส็ง เป็นเวลา ๔๐ ปี จนครูท่านสิ้น จึงนับได้ว่าวิชามวยไชยาสายอาจารย์เขตร นั้นมีส่วนผสมวิชามวยของท่านอาจารย์กิมเส็ง อยู่อย่างแยบยลจนแยกกันไม่ออก
.....นอกจากการเล่นกีฬา หมัดหมวย ฟุตบอล และ วิ่งแข่ง กระโดดสูงกระโดดยาว รวมทั้งมวยสากลกับมองซิเออร์ ฟโรว์ นักมวยคู่ซ้อมของยอร์ช กาปังติเอร์ แล้ว เขตร ศรียาภัยยังสามารถ แจวเรือพายและถือท้ายเรือยาว (เรือดั้ง เรือแซง) เรือยนต์ เรือกลไฟ ขับรถยนต์ ขี่มอเตอร์ไซ รวมทั้งการขี่ม้า ขี่และฝึกช้างตามแบบที่เรียกว่าคชกรรมอีกด้วย
..... ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๑ - ๒๔๙๔ อาจารย์เขตร ได้มีส่วนร่วมก่อตั้งสนามมวยธรรมศาสตร์ ขึ้นแทนสนามมวยราชดำเนินที่ไม่มีหลังคากันฝน ล่วงถึง ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๖ จึงได้เข้าเป็นผู้จัดการ สนามมวยลุมพินี อยู่หลายปี จนช่วงอายุ ๖๙-๗๐ ปี คุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ บรรณาธิการ และอาจารย์ สงบ สอนสิริ จึงได้ชักชวนให้ท่านเขียน " มวยไทยปริทัศน์ " ในนิตยสาร ฟ้าเมืองไทย เล่าถึงเรื่องมวยคาดเชือกในยุค สนามสวนกุหลาบ สนามมวยหลักเมืองสนามมวยสวนสนุก เกร็ดความรู้เรื่องมวยไทย และความรู้เรื่องมวยของชนชาติอื่นๆ จนได้รับการยอมรับและได้รับการ เรียกขาน ท่านเป็น " ปรมาจารย์ " มวยไทย อาจารย์เขตร ศรียาภัย ถึงแก่กรรม ด้วยโรคหัวใจ ล้มเหลว เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๑ สิริอายุรวม ๗๕ ปี
*ประวัติการทำงานของ ปรมาจารย์เขตร์ ศรียาภัย
..... ท่านปรมาจารย์เขตร์ ศรียาภัย นับว่าได้ว่าเป็นบุคคลตัวอย่าง ในด้านความรู้ ความเสียสละ และความซื่อสัตย์ ผลงานอันนับได้ว่าเป็นเหมือน รางวัลชีวิต ที่ท่านได้กระทำไว้ มีนับไม่ถ้วน ทางคณะผู้จัดทำ จึงใคร่ของกล่าวถึงบางส่วน โดยย่อดังต่อไปนี้
ประวัติการรับราชการ (คัดจากสำเนาสมุดประวัติประจำตัวข้าราชการ กรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย)
.....พ.ศ. ๒๔๖๗ พนักงานรักษาสนาม และต้นไม้กองถนน
.....พ.ศ. ๒๔๗๙ – ๒๔๘๔ รักษาการตำแหน่งหัวหน้าแผนกสารบรรณกองช่าง
.....พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๙๐ หัวหน้าแผนกกลางกองโยธา
.....พ.ศ. ๒๔๙๑ – ๒๔๙๕ หัวหน้ากองรักษาความสะอาด (ปี ๒๔๙๕ ได้รับทุนไปดูงานการรักษาความสะอาดใน อเมริกา ยุโรป และออสเตเลีย)
.....พ.ศ. ๒๕๐๐ ดำรงตำแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล
.....พ.ศ. ๒๕๐๔ – ๒๕๐๖ ดำรงตำแหน่งรองปลัดเทศบาล สำนักปลัดเทศบาลนครกรุงเทพฯ และพ้นจากหน้าที่เนื่องจากครบเกษียณอายุเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ หลังจากครบเกษียณอายุแล้ว ท่านได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของเทศบาล นครกรุงเทพฯ อยู่อีกระยะหนึ่ง
ราชการพิเศษ (คัดจากสำเนาสมุดประวัติประจำตัวข้าราชการ กรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย)
.....พ.ศ. ๒๕๐๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนคร แต่งตั้งให้เป็น เทศมนตรีชั่วคราว ดำเนินกิจการของ เทศบาลไปจนกว่าจะได้แต่ตั้งคณะเทศมนตรีใหม่
.....พ.ศ. ๒๕๐๓ กรรมการดำเนิน การตรวจสอบและสะสางบัญชี การเงินของกรมโยธาเทศบาล
ความดีความชอบ (คัดจากสำเนาสมุดประวัติประจำตัวข้าราชการ กรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย)
.....พ.ศ. ๒๔๗๖ ช่วยเหลือการปราบกฎบวรเดช ได้รับการชมเชยตามหนังสือเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ที่ ม. ๑๐๔๒๐/๗๗ ลงวันที่ ๒๖/๑๑/๒๔๗๗
.....พ.ศ. ๒๕๐๑ ในระหว่างปฏิบัติราชการเป็นเทศมนตรีชั่วคราว ได้ปฏิบัติงานบังเกิดผลดีแก่ท้องถิ่นอย่างยิ่ง ได้ตั้งใจช่วยเหลือท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ ของประชาชนจำนวนกว่าหนึ่งล้านคน จนเป็นผลดีอย่างมากถึงวันส่งมอบงานนับได้ว่าเป็นผลดีแก่ราชการของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนรวม ได้รับการชมเชยตามหนังสือ กระทรวงมหาดไทยที่ ๗๓๐๓/๒๕๐๑ ลงวันที่ ๑๐/๕/๒๕๐๑
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
.....พ.ศ. ๒๔๖๘ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๗
.....พ.ศ. ๒๔๗๕ เหรียญสมโภชพระนคร ๑๕๐ ปี
.....พ.ศ. ๒๔๘๔ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
.....พ.ศ. ๒๔๖๘ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
.....พ.ศ. ๒๔๙๒ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
.....พ.ศ. ๒๔๙๓ เหรียญบรมราชาภิเษก , เหรียญรัตนาภรณ์
.....พ.ศ. ๒๔๙๙ ตริตาภรณ์ช้างเผือก
.....พ.ศ. ๒๕๐๓ ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย
เหรียญเกียรติคุณ
.....พ.ศ. ๒๔๖๐ เหรียญ JUNIORS TOURNAMENT 1917 *
.....พ.ศ. ๒๔๗๗ เหรียญ SEMPR FIDELIS “สัตย์ซื่อตลอดกาล” **
* โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้ถูกบังคับให้เข้าร่วมกันแข่งขันฟุตบอล ระหว่างนักเรียนอังกฤษ กับ นักเรียนฝรั่งเศล ทางโรงเรียนได้คัดตัว ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย เป็นหนึ่งในทีมนักเรียนอังกฤษ และในการแข่งครั้งนั้น นักเรียนอังกฤษ เป็นฝ่ายชนะ เ ป็นจุดเริ่มที่ทำให้ ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย รักและสนใจกีฬาฟุตบอล และร่วมแข่งขันในนาม โรงเรียนอัสสัมชัญ ตลอดมา และยังมีถ้วยรางวัลและเหรียญ อื่น ๆ อีกมาก ที่ท่านได้จากการแข่งขัน ในฐานะ นักฟุตบอลของสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญ
** เนื่องในโอกาส ฉลองโรงเรียนอัสสัมชัญ ครบ ๕๐ ปี ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย จึงได้รับรางวัล เหรียญทองคำ ซึ่งจัดสร้างขึ้นเป็นพิเศษ คำจารึกเป็นภาษาละตินว่า CA - SEMPR FIDELIS ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “สัตย์ซื่อตลอดกาล” อันถือว่าเป็นเหรียญเดียว ที่ทางโรงเรียนมอบให้นักเรียน นับตั้งแต่สร้างโรงเรียนมา ตลอดระยะเวลา ๙๐ ปี นับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง
* ครูเขตร์ ซ้อมมวยกับบุตรี (ป้าศรีธร)
ครู ทองหล่อ ยาและ (ทอง เชื่อไชยา)
.....ท่านเกิดเมื่อ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๒ ที่โรงพยาบาล ศิริราช กรุงเทพฯ เมื่อเรียน อยู่ชั้น ป.๖ โรงเรียนวัฒนศิลป์ ประตูน้ำ เริ่มเรียนมวยสากลกับครูประสิทธิ์ นักมวยสากลจากกรมพละ ช่วงอายุ ๑๓-๑๔ ปี ครูได้ออกหาค่ายมวยไทยที่จะเรียน อย่างจริงจัง ครูไปดูอยู่หลายที่ แต่ก็ไม่ถูกใจเพราะแต่ละค่ายนั้น เวลาซ้อมนักมวย จะเจ็บตัวกันมาก ไม่มีการป้องกันตัวเลย ครูจึงได้ไปหัดเรียนมวยไทยกับ ป๊ะลาม ญาติของแม่ แถวซอยกิ่งเพชร มีครูฉันท์ สมิตเวชกับครูชาย สิทธิผล สอน ด้วยว่า เป็นคนร่างเล็ก ผอมบาง จึงถูกเพื่อนๆรังแกอยู่เป็นประจำแต่ก็เรียนอยู่ได้ไม่นาน เพราะถูกเด็กโตกว่ากลั่นแกล้ง หลังจากจบภาคการศึกษา และได้ผ่านชีวิตบู๊ โลดโผน อย่างลูกผู้ชายในยุคนั้นครูทองได้มาทำงานที่ การรถไฟ มักกะสันได้รู้จักกับเพื่อน ของคุณพ่อ ชื่ออาจารย์สามเศียร ได้พูดคุยเรื่องมวยและพาไปพบกับ อาจารย์เขตร ที่บ้าน ครูจึงเริ่มเรียนมวยไชยา ขั้นพื้นฐาน ตามลำดับ เรียนอยู่หลายเดือน จึงคิดจะ ขึ้นชกเวทีเหมือนอย่างรุ่นพี่บ้าง ช่วงนั้น ครูทอง
อายุประมาณ ๑๖ ปี จึงไปขออนุญาต อาจารย์เขตร อาจารย์ท่านก็ดูฝีไม้ลายมือว่าใช้ได้ จึงบอกครูให้ฟิตให้ดีแล้วจะพา ไปชก แต่ครูทองท่านได้แอบไปชกมวยเวที ตามต่างจังหวัดรอบๆกรุงเทพฯ ชนะมากกว่าแพ้ และได้ชกชนะมวยดัง
ฉายาเสือร้ายแปดริ้ว ที่ฉะเชิงเทรา จนเป็นข่าวรู้ถึงอาจารย์เขตร นับแต่นั้นครูทอง จึงได้ชกใน กรุงเทพฯ โดยอาจารย์เขตร จะพาไปเอง ครูทองชกครั้งแรกที่เวที ราชดำเนินกับสมชาย พระขรรค์ชัย ครูทองแพ้ด้วยความตื่นเวทีใหญ่ เมื่อครูทองติดต่อขอแก้มือแต่ฝ่ายสมชาย ไม่ขอแก้มือด้วย มาเลิก ชกมวยเมื่ออายุ ๒๔ ปี เมื่อคุณย่าท่านป่วยหนักและได้ขอร้องให้ครูเลิกชกมวยเวที ครูทอง ก็ให้สัจจะ แต่ขอคุณย่าไว้ว่าจะเลิกต่อยแต่ไม่เลิกหัด คุณย่าท่านก็อนุญาต ครูทอง ได้เรียนมวยกับอาจารย์เขตร อยู่อีกหลายปี จนอาจารย์เขตร ออกปากว่า จะพาไปเรียนกับอาจารย์ใหญ่
.....อาจารย์เขตร จึงฝากครูทอง ให้ไปเรียนวิชาต่อกับอาจารย์ กิมเส็ง ครูทองท่านสนใจเรียนมวยมาก เมื่ออาจารย์ กิมเส็ง ให้ถือดาบไม้และให้ลองเล่นกับท่านดูโดยบอกว่า ก็เล่นเหมือนกับเล่นมวย นั้นแหละ ลองอยู่สักพัก อาจารย์กิมเส็ง ท่านก็บอกว่า ใช้ได้นี่ ด้วยเหตุนี้ ครูทอง จึงไม่ได้เรียนดาบกับอาจารย์กิมเส็ง ซึ่งครูมักพูดว่าเสียดายอยู่เสมอๆ (แต่ครูทองก็มีความรู้เรื่อง การฟันดาบอยู่ไม่น้อย) เรียนอยู่สัก ๓ ปี อาจารย์กิมเส็ง ท่านก็สิ้น ครูทองได้มาช่วยเพื่อนชื่อไหว สอนมวยอยู่ราชบูรณะ และเริ่มสอนมวยอย่างจริงจัง เมื่อย้ายบ้านมาอยู่ที่ ย่านบางนา มีทหารเรือมาฝึกกับท่านจำนวนมาก ครูทองจึงได้ไป ขออนุญาต อาจารย์เขตร ว่าจะสอน ครั้นพูดจบอาจารย์เขตร ท่านก็เหวี่ยงแข้งเตะมาที่ครูทองทันที ครูทองก็รับปิดป้อง ว่องไว ตามที่ได้เรียนมา อาจารย์เขตร จึงว่า อย่างนี้สอนได้ และได้ให้ครูทองมาเรียนวิชาครูเพิ่มเติม
.....ครูทอง ท่านใช้ ชื่อค่ายมวยว่า "ค่ายศรีสกุล" ต่อมาใช้ "ค่ายสิงห์ทองคำ" แต่ซ้ำกับค่ายอื่น ท่านจึงไปกราบขอชื่อ ค่ายมวยจากอาจารย์เขตร ซึ่งก็ได้รับความกรุณาโดยอาจารย์ได้ตั้งชื่อให้ว่า " ค่ายไชยารัตน์ "ด้วยเหตุว่าครั้งเรียน วิชามวยไชยากับ อาจารย์เขตร ศิษย์ทุกคนจะใช้สกุลในการขึ้นชกมวยว่า " เชื้อไชยา " ครูทอง มีลูกศิษย์ หลายรุ่น แต่ละรุ่นท่านก็สอนไม่เหมือนกัน บางคนจะชกมวยสากล บางคนจะชกมวยไทยเวที ท่านจะสอนแตกต่างกัน ตามโอกาส
.....จนเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ ครูทอง ท่านได้ไปเผยแพร่มวยไทยคาดเชือกที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า และได้พบกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ชมรมต่อสู้ป้องกันตัว อาวุธไทย ได้ขอท่านเรียนมวย แรกๆก็ไปเรียนที่บ้านครู แต่ระยะหลังจึงได้เชิญ ครูทองท่านมาสอนที่มหาวิทยาลัย และครูได้เริ่มสอนแบบโบราณ คาดเชือกด้วยเห็นว่า ท่าย่างสามขุมของดาบ นั้นเป็นแนวเดียวกับการเดินย่างของมวยคาดเชือก จนถึง พ.ศ.๒๕๒๗ นักศึกษาจุฬา ( เคยฝึกอาวุธไทยที่ รามฯ )ได้เชิญครูท่านไปเป็น อาจารย์พิเศษที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ครูทอง จึงได้ถ่ายทอด ศิลปะมวยคาดเชือก สายไชยา ในสองสถาบัน จนพ.ศ.๒๕๓๗ จึงหยุดด้วยโรคประจำตัว ครูทองหล่อ ยาและ ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด และถึงแก่กรรมด้วยวัยเพียง ๖๗ ปี ในเวลาเช้า ๘.๔๕ น. ของวันที่ ๑๙ กันยายนพ.ศ.๒๕๓๙
.................................
ประวัติของท่านนั้นไม่มีการกล่าวหรือบันทึกไว้มากนักทราบเพียงว่า พ่อท่านมาเป็นครูมวยใหญ่ ทีเดินทางมายัง เมืองไชยา (บางก็ว่าท่านเป็น ขุนศึก หรือ แม่ทัพ ออกบวช และธุดงค์มาจากกรุงเทพฯ) เมื่อราว๑๖๕ ปีมาแล้ว สมัย ร.๓ ตอนปลาย ท่านเชี่ยวชาญวิชาการต่อสู้และมีวิชาอาคม แก่กล้า เคยมีเรื่องเล่าว่ามีช้างตกมันอาละวาด ไม่มีผู้ใดปราบได้ พ่อท่านมาได้บริกรรมคาถาแล้วใช้กะลามะพร้าวครอบจับช้างเชือกนั้นไว้ ชาวบ้านจึงได้สร้างวัดขึ้นที่ท้องทุ่งแห่งนั้นขนานนามว่า วัดทุ่งจับช้าง
.....ศิลปะมวยของท่านได้รับการถ่ายทอด สืบต่อ สู่ชาวเมืองไชยาและครูมวยต่อมาอีกหลายๆท่าน นับแต่พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) ปฐมศิษย์เบื้องต้นผู้เป็นครูมวยของหมื่นมวยมีชื่อ ( ปล่อง จำนงทอง ) ครูนิล ปักษี ครูอินทร์ ศักดิ์เดช โดยเฉพาะ หมื่นมวยมีชื่อ ที่ได้รับราชทานนามนี้จาก ล้นเกล้าในรัชกาลที่ ๕ นับเป็นเกียรติแก่ เมืองไชยา ยิ่งนัก
.....แม้ทุกวันนี้ยังมีนักมวย นักศึกษาและประชาชนเดินทางไปกราบไหว้ และรำถวายมือ หน้าเจดีย์บรรจุอัฐิพ่อท่านมา วัดทุ่งจับช้าง อำเภอพุมเรียง สุราษฎร์ธานี อยู่เสมอ ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๔ หลวงพ่อไสว อินทะวังโส ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัด และดูแลพัฒนา บริเวณวัด สร้างหลังคากันแดดฝนคลุมรักษา สถูปบรรจุอัฐิพ่อท่านมาไว้ โดยมี ชาวบ้าน และคุณยายท่านหนึ่ง ซึ่งมีศักดิ์เป็น หลานสาวของท่าน ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย ได้ร่วมกันบำรุงรักษาวัดอยู่ ต้นปี พ.ศ.๒๕๔๕ ได้ข่าวว่า หลวงพ่อไสว จะเดินทางไปจำวัดอยู่ที่นครศรีธรรมราช เป็นที่น่าเสียดาย วัดทุ่งจับช้าง ก็คงจะเป็นวัดร้าง ไร้การดูแลอีกครั้ง
*สถูปบรรจุอัฐิ พ่อท่านมา ได้รับการบูรณะใหม่
พระยาวจีสัตตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย)
พระยาวจีสัตยารักษ์ เดิมชื่อ ขำ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๘๗ ตรงกับรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ นายขำมีบุตร ๕ คน คือ ชื่อ ศรียาภัย พระยาประชุมพลขันธ์ นายจวน นายเขต และนางเฉลิม
.....นายขำ ศรียาภัย ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๔ ได้ฝึกหัดราชการอยู่ในสำนักของสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหม นายขำเป็นผู้มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี และเป็น ผู้มีความรู้ความชำนาญ หลายด้าน เช่น การค้าขาย การจับ และฝึกหัดช้าง และยังมีความสามารถในการพูดภาษาจีน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการติดต่อ ค้าขายเป็นอย่างมาก จนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชานุชิต ผู้ช่วยราชการเมืองไชยา ในรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๑๒
.....ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีราชสงคราม ปลัดเมืองไชยา และดำรงตำแหน่งนี้ เป็นเวลา ๑๐ปี มีความชอบจากการไปปราบจลาจลชาวจีนที่เมืองภูเก็ต จึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทิพยาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๕
.....พ.ศ. ๒๔๒๒ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิชิตภักดี ผู้ว่าราชการเมืองไชยา ทำความดีความชอบจนได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มัณฑยาภรณ์มงกุฎสยาม ชั้นที่๓ นิภาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่๓ เหรียญดุษฎีมาลา
.....พ.ศ.๒๔๒๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบมณฑล พระยาวิชิตภักดี ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาไวยวุฒิวิเศษฤทธิ์ จางวางเมืองไชยา
.....พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวจีสัตยารักษ์ และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลสุราภรณ์ มงกุฎสยาม ชั้นที่๒ และเหรียญจักรพรรดิมาลาเป็นเกียรติยศ
.....เนื่องจากพระยาวจีสัตยารักษ์ เป็นผู้ชำนาญเกี่ยวกับหัวเมืองชายทะเลปักษ์ใต้ ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ พระยาวจีสัตยารักษ์จึงได้ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์นำเสด็จ และเมื่อมีทางรถไฟสายใต้ ได้เป็นผู้นำตรวจทางรถไฟสายใต้เป็นครั้งแรก ตั้งแต่มณฑลปัตตานี ถึงเมืองเพชรบุรี นอกจากนี้ ยังได้สร้างคุณงามความดีอันเป็นประโยชน์อีกมากมาย
.....พระยาวจีสัตยารักษ์ และบุตรหลานได้สร้างคุณงามความดีเป็นที่ประจักษ์มิใช่เฉพาะแต่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่านั้น หากแต่ได้สร้างคุณงามความดีให้กับประเทศชาติโดยส่วนรวมอีกด้วย
.....พระยาวจีสัตยารักษ์เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรงมาโดยตลอด ท่านถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ รวมอายุได้ ๗๐ปี ปัจจุบันมีสถูปซึ่งบรรจุอัฐิของท่านและบุตรหลานในตระกูลศรียาภัย ณ เมืองไชยา(เก่า) ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
หลวงวิลาศดรุณกร (อั้น สาริกบุตร)
*ภาพนี้ถ่ายประมาณปี พ.ศ. 2492 ก่อนท่านจะเสีย
จากหนังสืองานศพของท่านครูหลวงฯ ท่านเสียไปเมื่อ ปี พ.ศ. 2492 ครับ ที่ จ. นครปฐม
...ครูหลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) อดีตครูฝ่ายปกครอง โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ( พ.ศ. 2461)
ก่อนที่จะมาอยู่ สวนฯ ท่านเคยเป็น ครูใหญ่ อยู่ที่ โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย (ครูใหญ่คนแรก),โรงเรียนปทุมคงคา
แล้ว ถึงย้ายมาอยู่ ที่ โรงเรียนสวนกุหลาบ
...ครูเขตร์ ท่านได้พูดถึง ครูหลวงวิศาลดรุณกร ในหนังสือปริทัศน์มวยไทยความว่า..." ท่าย่างสามขุม ของหลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) อาจารย์โรงเรียนสวนกุหลาบฯ พ.ศ.๒๔๖๔ (ซึ่งเป็นศิษย์เอกของ ปรมาจารย์ พระไชยโชคชกชนะ (อ้น) เจ้ากรมทนายเลือกครูมวยและครูกระบี่กระบองผู้กระเดื่องนาม ในรัชสมัย ร. ๕) และปรมาจารย์ ขุนยี่สานสรรพยากร (ครูแสงดาบ) ครูมวยและครูกระบี่กระบอง ลือชื่อ ในสมัย ร.๖ นั้น มีความกระชับรัดกุม ตรงตามแบบท่าย่างสามขุมของ ท่านมา (หลวงพ่อ) ครูมวยแห่งเมืองไชยา ท่านนับเป็นต้นสายของมวยไชยา มรดกอันล้ำค่าของคนไทย "
...ครูเขตร์ ยอมรับนับถือว่า ครูหลวงวิศาลฯ ท่านคือครูมวยคนหนึ่งของท่าน และจากการกล่าวถึงท่านย่างสามขุมคลุมแดนยักษ์ ในมวยไชยา อันเป็นท่าย่างสามขุมหลักนั้น ยังมีความละม้ายคล้ายคลึงกับ ท่าย่างสามขุม เดิมมวยแบบวังหลวง ซึ่งครูหลวงวิศาลฯ ได้รับการถ่ายทอดมาจาก พระชัยโชคชกชนะ ครูมวย
...นี่เป็นจุดเชื่อมหนึ่งที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ การสืบทอดสายวิชาว่า มวยไชยา มีรากวิชามาจาก มวยในกรุงรัตน์โกสินทร์ อย่างแท้จริง
*ภาพ ปรมาจารย์เขตร์ ยกย่างสามขุมคลุมแดนยักษ์ (ถ่ายเมื่ออายุประมาณ ๔๕ ปี)
อ.กิมเส็ง (สุนทร ทวีสิทธิ์)
หากจะกล่าวถึง มวยไชยา แล้วไม่กล่าวถึง อาจารย์กิมเส็ง ทวีสิทธิ์ ก็คงจะทำให้ ประวัติมวยไชยา ขาดหายไปบางส่วน อาจารย์กิมเส็ง ท่าน เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๓ ยานนาวา กรุงเทพฯ ช่วงอายุ ๑๔ ปีท่านได้เดินทางไปศึกษาที่ สิงคโปร์ และเริ่มเรียน ยูโด ฟันดาบ มวยสากล ที่นั้น จนได้พบกับ มร.เบเก้อร์ เจ้าของร้านขนมปัง ซึ่งเป็นครูมวยสากลฝีมือดี ได้สอนด้านทฤษฏีและปฏิบัติของ N.S.Rule จนทำให้อาจารย์กิมเส็ง มีความรู้ความชำชาญ ในมวยสากล เป็นอย่างมาก
.....และอาจารย์ท่านยังได้เรียน วิชามวยไทย ดาบไทย จากครูเขียว ในป่าเขตแดนสระบุรีกับอยุธยาอยู่ ๒ ปี จึงทำให้อาจารย์เชี่ยวชาญวิชาการต่อสู้ของไทยมากขึ้น (นอกจากวิชาที่กล่าวมาแล้ว อาจารย์ยังมีความรู้ใน วิชามวยชวาของชาวอินโดนีเซีย ที่เรียกว่า " เพนต์จ๊าก " มวยจีน "เก่ยคุ้ง "
และ ยูยิตสู การจับหักของชาวญี่ปุ่น อีกด้วย จากข้อเขียน ของ อ.เขตร์ ) ช่วงอายุ ๒๕ ปี จึงได้เริ่มชกมวยไทย หลังจากนั้นไม่นานอาจารย์ก็เริ่มสอนมวยไทยและสากล ที่บ้านข้างวัดดอน ยานนาวา มีลูกศิษย์มากมายชกชนะมากกว่าแพ้ ลูกศิษย์ท่านได้เป็น ทั้งแชมป์มวยไทยมวยสากลก็มากจนเกิดเป็น " คณะทวีสิทธิ์ "
.....พ.ศ.๒๔๗๒-๒๔๘๒ พระยาคทาธรบดี ได้เริ่มจัด สนามมวยสวนสนุกขึ้นภายในบริเวณ สวนลุมพินี และได้ชักชวนให้อาจารย์ กิมเส็งดำเนินการจัดมวย และเป็นกรรมการ จึงทำให้ชื่อเสียงของ อาจารย์กิมเส็ง เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
.....ช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๗ กระทรวงธรรมการ( กระทรวงศึกษาธิการ )จึงได้เชิญ อาจารย์กิมเส็ง เข้าสอนวิชามวยที่โรงเรียนของกระทรวง แต่งตั้งเป็น อาจารย์พละของกรมพละศึกษากลาง มีลูกศิษย์มากมายกระจายอยู่ทั่วประเทศ ที่สอนมวยและเปิดค่ายมวย ก็มาก จึงทำให้ " ท่ารำพรหมสี่หน้า " กับ " ท่าย่างสุขเกษม " แพร่หลายกลายเป็นมรดก ที่เห็นนักมวยไทยใช้รำบนเวทีกันอยู่จนทุกวันนี้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ " หงายหมัด " ซึ่ง อาจารย์ เขตร์ ท่านได้กล่าวไว้ว่า " ผิดแผกกับการตั้งท่าของมวยภาคต่างๆทั่วประเทศ " ท่าหมัดหงายไม้มวยนี้ได้เลือนหายไปจากเวทีมวยไทยปัจจุบัน อาจารย์กิมเส็ง( สุนทร ทวีสิทธิ์ ) ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฏคม พ.ศ. ๒๕๐๔ สิริอายุรวม ๗๒ ปี
ปรมาจารย์เขตร์ ศรียาภัย
ปรมาจารย์ เขตร ศรียาภัย สืบตระกูลมาจากนักรบโดยลำดับดังนี้
.....พระยาชุมพร (ซุ่ย ซุ่ยยัง) ตาทวด (พ่อของย่า) เป็นแม่ทัพไทยตีเมืองมะริดและเมืองตะนาวศรีมาขึ้นประเทศไทย
ปลายรัชกาลที่ ๒ พ.ศ.๒๓๖๗ มีลูกเขยชื่อปานซึ่งได้เป็นที่พระศรีราชสงคราม
.....พระศรีราชสงคราม (ปาน ) ปลัดเมืองไชยา (เป็นปู่) มีลูกชายชื่อขำ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๔ รับใช้
สอยในสำนักสมเด็จเจ้าาพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหมและได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นหลวงสารานุชิต ผู้ช่วยราชการเมืองไชยาเมื่ออายุ ๒๕ ปี
.....หลวงสารานุชิต (ขำ ศรียาภัย) ได้พระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระศรีราชสงคราม ปลัดเมืองไชยา (แทนบิดาซึ่งถึงแก่กรรม) เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๒
.....พระศรีราชสงคราม (ขำ ศรียาภัย) ได้ช่วยปราบจีนจลาจลที่เมืองภูเก็ตในคราวเดียวกันกับหลวงพ่อแช่ม เจ้าอาวาสวัดฉลอง ซึ่งพวกจีนติดสินบน หัว ๑๐๐๐ เหรียญ จีนจลาจลแตกพ่ายหนีกระจัดกระเจิงลงเรือใบใหญ่ ออกทะเล จึงได้รับปูนบำเหน็จความดีความชอบเลื่อยศเป็น พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองไชยา พ.ศ.๒๔๒๒ พวกจีนจลาจลที่ภูเก็ตหนีลงเรือแต่ไม่กลับเมืองจีน ได้เที่ยวปล้นตามหัวเมือง ชายทะเล ตั้งแต่ปลายอณาเขตไทย ทางใต้จนถึงเมืองเกาะหลัก คือประจวบคีรีขันท์ เรืองรบหลวง ๒ ลำ มีกำลังพล ๒๐๐ ต้องประจำรักษาเมืองภูเก็ต จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าเมืองทำการปราบปราม เวลานั้นพระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม เป็นเจ้าเมืองไชยา แต่มีหน้าที่รักษาเมืองชุมพร และ กาญจนดิษฐ์ ด้วย ได้คิดสร้างลูกระเบิดมือขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย รวบรวมพลอาสาออกปราบปรามโจรจีนสลัดในอ่าวไทยเป็นเวลา ๓ ปี
โจรจีนสลัดสงบราบคาบ จึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆเป็นบำเหน็จโดยลำดับ จนถึง พ.ศ.๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนเป็นพระยาไวยวุฒิวิเศษฤทธิ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม เพื่อประกาศความดีความชอบที่ได้สร้างลูกระเบิดมืออันเป็นอาวุธแปลกไม่เคยเห็นกันในสมัยนั้น
.....ต่อมาอีก ๗ ปี คือวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานสัญญาบัตรให้เลื่อนเป็น พระยาวจีสัตยารักษ์ มีตำแหน่งเป็นผู้กำกับการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา จนกระทั่งวันถึงแก่กรรม วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๕๗
.....เขตร ศรียาภัย เป็นลูกคนสุดท้องของพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย)
.....เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๕ ณ ตำบลหนองช้างตาย (ต.ท่าตะเภา ในปัจจุบัน) อำเภอท่าตะเภา จังหวัดชุมพร ในสมัยเด็กอายุประมาณ ๑๐ ขวบ เขตร ศรียาภัย ได้เข้าโรงเรียนมัธยมวัดสุทธิวราราม อยู่ที่บ้านทวาย ชอบกีฬาประเภทออกแรง ทุกชนิด เช่น พายเรือ ว่ายน้ำ วิ่งแข่ง ตีจับ ฯลฯ ได้เป็นที่ ๑ ในชุดวิ่งเปรี้ยวชิงชนะเลิศกับชุดโรงเรียนวัดประทุมคงคา ได้ถ้วยและ โรงเรียนมัธยมวัดสุทธิวราราม มีชื่อทางวิ่งเปรี้ยวแต่นั้นมา
ได้ลาออกเพื่อเข้าโรงเรียนอัสสัมชัญเมื่ออายุได้ ๑๓ ปี เพราะทนถูกรังแกจากนักเรียนที่ใหญ่กว่าไม่ไหว ณ โรงเรียนฝรั่งแห่งใหม่กลับร้ายกว่า โรงเรียนเดิมเพราะมีนักเรียนมากกว่า ๓ เท่า เขตร ศรียาภัย ต้องทนมือทนตีนอยู่ ๓ ปี อันเป็นปฐมเหตุแห่งความพยายามศึกษาวิชาต่อสู้ ซึ่งมีครูดี ๆ รวม ๑๒ ท่าน คือ
๑. พระยาวจีสัตยารักษ์ ( ขำ ศรียาภัย ) เจ้าเมืองไชยา -บิดาบังเกิดเกล้า
๒. ครูกลัด ศรียาภัย ผู้บังคับการเรือกลไฟรัศมี -อา
๓. หมื่นมวยมีชื่อ ( ปล่อง จำนงทอง )
๔. ครูกลับ อินทรกลับ
๕. ครูสอง ครูมวยบ้านนากะตาม อำเภอท่าแซะ
๖.ครูอินทร์ สักเดช ครูมวยบ้านท่าตะเภา
๗. ครูดัด กาญจนากร ครูมวยบ้านหนองทองคำ
๘. ครูสุก เนตรประไพ ครูมวยบ้านแสงแดด
๙. ครูวัน ผลพฤกษา ครูมวยตำบลศาลเจ้าตาแป๊ะโป
๑๐. อาจารย์ ม.จ.วิบูลย์สวัสดิวงศ์ สวัสดิกุล
๑๑. ครู (กิมเส็ง)สุนทร ทวีสิทธิ์ ปรมาจารย์มวยมีชื่อในพระนคร อาจารย์สอนมวยกรมพละศึกษา
๑๒. อาจารย์ หลวงวิศาลดรุณากร
.....เมื่ออายุ ๑๙ ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ อาจารย์ เขตร ได้ไปดูการฝึกมวยที่บ้าน อาจารย์กิมเส็ง และเกิดความสนใจใน " หงายหมัด " ของค่ายทวีสิทธิ์ อีกหนึ่งปีต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔ อาจารย์เขตร จึงได้นำดอกไม้ธูปเทียน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาวม้า และขันน้ำ ไปกราบขอเป็นศิษย์กับ อาจารย์กิมเส็ง ในวัน พฤหัสบดีอันเป็น " วันครู " ตามคติโบราณ ได้อยู่ร่ำเรียนรับใช้ ไปมาหาสู่กับ อาจารย์กิมเส็ง เป็นเวลา ๔๐ ปี จนครูท่านสิ้น จึงนับได้ว่าวิชามวยไชยาสายอาจารย์เขตร นั้นมีส่วนผสมวิชามวยของท่านอาจารย์กิมเส็ง อยู่อย่างแยบยลจนแยกกันไม่ออก
.....นอกจากการเล่นกีฬา หมัดหมวย ฟุตบอล และ วิ่งแข่ง กระโดดสูงกระโดดยาว รวมทั้งมวยสากลกับมองซิเออร์ ฟโรว์ นักมวยคู่ซ้อมของยอร์ช กาปังติเอร์ แล้ว เขตร ศรียาภัยยังสามารถ แจวเรือพายและถือท้ายเรือยาว (เรือดั้ง เรือแซง) เรือยนต์ เรือกลไฟ ขับรถยนต์ ขี่มอเตอร์ไซ รวมทั้งการขี่ม้า ขี่และฝึกช้างตามแบบที่เรียกว่าคชกรรมอีกด้วย
..... ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๑ - ๒๔๙๔ อาจารย์เขตร ได้มีส่วนร่วมก่อตั้งสนามมวยธรรมศาสตร์ ขึ้นแทนสนามมวยราชดำเนินที่ไม่มีหลังคากันฝน ล่วงถึง ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๖ จึงได้เข้าเป็นผู้จัดการ สนามมวยลุมพินี อยู่หลายปี จนช่วงอายุ ๖๙-๗๐ ปี คุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ บรรณาธิการ และอาจารย์ สงบ สอนสิริ จึงได้ชักชวนให้ท่านเขียน " มวยไทยปริทัศน์ " ในนิตยสาร ฟ้าเมืองไทย เล่าถึงเรื่องมวยคาดเชือกในยุค สนามสวนกุหลาบ สนามมวยหลักเมืองสนามมวยสวนสนุก เกร็ดความรู้เรื่องมวยไทย และความรู้เรื่องมวยของชนชาติอื่นๆ จนได้รับการยอมรับและได้รับการ เรียกขาน ท่านเป็น " ปรมาจารย์ " มวยไทย อาจารย์เขตร ศรียาภัย ถึงแก่กรรม ด้วยโรคหัวใจ ล้มเหลว เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๑ สิริอายุรวม ๗๕ ปี
*ประวัติการทำงานของ ปรมาจารย์เขตร์ ศรียาภัย
..... ท่านปรมาจารย์เขตร์ ศรียาภัย นับว่าได้ว่าเป็นบุคคลตัวอย่าง ในด้านความรู้ ความเสียสละ และความซื่อสัตย์ ผลงานอันนับได้ว่าเป็นเหมือน รางวัลชีวิต ที่ท่านได้กระทำไว้ มีนับไม่ถ้วน ทางคณะผู้จัดทำ จึงใคร่ของกล่าวถึงบางส่วน โดยย่อดังต่อไปนี้
ประวัติการรับราชการ (คัดจากสำเนาสมุดประวัติประจำตัวข้าราชการ กรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย)
.....พ.ศ. ๒๔๖๗ พนักงานรักษาสนาม และต้นไม้กองถนน
.....พ.ศ. ๒๔๗๙ – ๒๔๘๔ รักษาการตำแหน่งหัวหน้าแผนกสารบรรณกองช่าง
.....พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๙๐ หัวหน้าแผนกกลางกองโยธา
.....พ.ศ. ๒๔๙๑ – ๒๔๙๕ หัวหน้ากองรักษาความสะอาด (ปี ๒๔๙๕ ได้รับทุนไปดูงานการรักษาความสะอาดใน อเมริกา ยุโรป และออสเตเลีย)
.....พ.ศ. ๒๕๐๐ ดำรงตำแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล
.....พ.ศ. ๒๕๐๔ – ๒๕๐๖ ดำรงตำแหน่งรองปลัดเทศบาล สำนักปลัดเทศบาลนครกรุงเทพฯ และพ้นจากหน้าที่เนื่องจากครบเกษียณอายุเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ หลังจากครบเกษียณอายุแล้ว ท่านได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของเทศบาล นครกรุงเทพฯ อยู่อีกระยะหนึ่ง
ราชการพิเศษ (คัดจากสำเนาสมุดประวัติประจำตัวข้าราชการ กรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย)
.....พ.ศ. ๒๕๐๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนคร แต่งตั้งให้เป็น เทศมนตรีชั่วคราว ดำเนินกิจการของ เทศบาลไปจนกว่าจะได้แต่ตั้งคณะเทศมนตรีใหม่
.....พ.ศ. ๒๕๐๓ กรรมการดำเนิน การตรวจสอบและสะสางบัญชี การเงินของกรมโยธาเทศบาล
ความดีความชอบ (คัดจากสำเนาสมุดประวัติประจำตัวข้าราชการ กรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย)
.....พ.ศ. ๒๔๗๖ ช่วยเหลือการปราบกฎบวรเดช ได้รับการชมเชยตามหนังสือเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ที่ ม. ๑๐๔๒๐/๗๗ ลงวันที่ ๒๖/๑๑/๒๔๗๗
.....พ.ศ. ๒๕๐๑ ในระหว่างปฏิบัติราชการเป็นเทศมนตรีชั่วคราว ได้ปฏิบัติงานบังเกิดผลดีแก่ท้องถิ่นอย่างยิ่ง ได้ตั้งใจช่วยเหลือท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ ของประชาชนจำนวนกว่าหนึ่งล้านคน จนเป็นผลดีอย่างมากถึงวันส่งมอบงานนับได้ว่าเป็นผลดีแก่ราชการของกระทรวงมหาดไทย ในส่วนรวม ได้รับการชมเชยตามหนังสือ กระทรวงมหาดไทยที่ ๗๓๐๓/๒๕๐๑ ลงวันที่ ๑๐/๕/๒๕๐๑
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
.....พ.ศ. ๒๔๖๘ เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๗
.....พ.ศ. ๒๔๗๕ เหรียญสมโภชพระนคร ๑๕๐ ปี
.....พ.ศ. ๒๔๘๔ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
.....พ.ศ. ๒๔๖๘ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
.....พ.ศ. ๒๔๙๒ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
.....พ.ศ. ๒๔๙๓ เหรียญบรมราชาภิเษก , เหรียญรัตนาภรณ์
.....พ.ศ. ๒๔๙๙ ตริตาภรณ์ช้างเผือก
.....พ.ศ. ๒๕๐๓ ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย
เหรียญเกียรติคุณ
.....พ.ศ. ๒๔๖๐ เหรียญ JUNIORS TOURNAMENT 1917 *
.....พ.ศ. ๒๔๗๗ เหรียญ SEMPR FIDELIS “สัตย์ซื่อตลอดกาล” **
* โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้ถูกบังคับให้เข้าร่วมกันแข่งขันฟุตบอล ระหว่างนักเรียนอังกฤษ กับ นักเรียนฝรั่งเศล ทางโรงเรียนได้คัดตัว ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย เป็นหนึ่งในทีมนักเรียนอังกฤษ และในการแข่งครั้งนั้น นักเรียนอังกฤษ เป็นฝ่ายชนะ เ ป็นจุดเริ่มที่ทำให้ ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย รักและสนใจกีฬาฟุตบอล และร่วมแข่งขันในนาม โรงเรียนอัสสัมชัญ ตลอดมา และยังมีถ้วยรางวัลและเหรียญ อื่น ๆ อีกมาก ที่ท่านได้จากการแข่งขัน ในฐานะ นักฟุตบอลของสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญ
** เนื่องในโอกาส ฉลองโรงเรียนอัสสัมชัญ ครบ ๕๐ ปี ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย จึงได้รับรางวัล เหรียญทองคำ ซึ่งจัดสร้างขึ้นเป็นพิเศษ คำจารึกเป็นภาษาละตินว่า CA - SEMPR FIDELIS ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “สัตย์ซื่อตลอดกาล” อันถือว่าเป็นเหรียญเดียว ที่ทางโรงเรียนมอบให้นักเรียน นับตั้งแต่สร้างโรงเรียนมา ตลอดระยะเวลา ๙๐ ปี นับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง
* ครูเขตร์ ซ้อมมวยกับบุตรี (ป้าศรีธร)
ครู ทองหล่อ ยาและ (ทอง เชื่อไชยา)
.....ท่านเกิดเมื่อ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๒ ที่โรงพยาบาล ศิริราช กรุงเทพฯ เมื่อเรียน อยู่ชั้น ป.๖ โรงเรียนวัฒนศิลป์ ประตูน้ำ เริ่มเรียนมวยสากลกับครูประสิทธิ์ นักมวยสากลจากกรมพละ ช่วงอายุ ๑๓-๑๔ ปี ครูได้ออกหาค่ายมวยไทยที่จะเรียน อย่างจริงจัง ครูไปดูอยู่หลายที่ แต่ก็ไม่ถูกใจเพราะแต่ละค่ายนั้น เวลาซ้อมนักมวย จะเจ็บตัวกันมาก ไม่มีการป้องกันตัวเลย ครูจึงได้ไปหัดเรียนมวยไทยกับ ป๊ะลาม ญาติของแม่ แถวซอยกิ่งเพชร มีครูฉันท์ สมิตเวชกับครูชาย สิทธิผล สอน ด้วยว่า เป็นคนร่างเล็ก ผอมบาง จึงถูกเพื่อนๆรังแกอยู่เป็นประจำแต่ก็เรียนอยู่ได้ไม่นาน เพราะถูกเด็กโตกว่ากลั่นแกล้ง หลังจากจบภาคการศึกษา และได้ผ่านชีวิตบู๊ โลดโผน อย่างลูกผู้ชายในยุคนั้นครูทองได้มาทำงานที่ การรถไฟ มักกะสันได้รู้จักกับเพื่อน ของคุณพ่อ ชื่ออาจารย์สามเศียร ได้พูดคุยเรื่องมวยและพาไปพบกับ อาจารย์เขตร ที่บ้าน ครูจึงเริ่มเรียนมวยไชยา ขั้นพื้นฐาน ตามลำดับ เรียนอยู่หลายเดือน จึงคิดจะ ขึ้นชกเวทีเหมือนอย่างรุ่นพี่บ้าง ช่วงนั้น ครูทอง
อายุประมาณ ๑๖ ปี จึงไปขออนุญาต อาจารย์เขตร อาจารย์ท่านก็ดูฝีไม้ลายมือว่าใช้ได้ จึงบอกครูให้ฟิตให้ดีแล้วจะพา ไปชก แต่ครูทองท่านได้แอบไปชกมวยเวที ตามต่างจังหวัดรอบๆกรุงเทพฯ ชนะมากกว่าแพ้ และได้ชกชนะมวยดัง
ฉายาเสือร้ายแปดริ้ว ที่ฉะเชิงเทรา จนเป็นข่าวรู้ถึงอาจารย์เขตร นับแต่นั้นครูทอง จึงได้ชกใน กรุงเทพฯ โดยอาจารย์เขตร จะพาไปเอง ครูทองชกครั้งแรกที่เวที ราชดำเนินกับสมชาย พระขรรค์ชัย ครูทองแพ้ด้วยความตื่นเวทีใหญ่ เมื่อครูทองติดต่อขอแก้มือแต่ฝ่ายสมชาย ไม่ขอแก้มือด้วย มาเลิก ชกมวยเมื่ออายุ ๒๔ ปี เมื่อคุณย่าท่านป่วยหนักและได้ขอร้องให้ครูเลิกชกมวยเวที ครูทอง ก็ให้สัจจะ แต่ขอคุณย่าไว้ว่าจะเลิกต่อยแต่ไม่เลิกหัด คุณย่าท่านก็อนุญาต ครูทอง ได้เรียนมวยกับอาจารย์เขตร อยู่อีกหลายปี จนอาจารย์เขตร ออกปากว่า จะพาไปเรียนกับอาจารย์ใหญ่
.....อาจารย์เขตร จึงฝากครูทอง ให้ไปเรียนวิชาต่อกับอาจารย์ กิมเส็ง ครูทองท่านสนใจเรียนมวยมาก เมื่ออาจารย์ กิมเส็ง ให้ถือดาบไม้และให้ลองเล่นกับท่านดูโดยบอกว่า ก็เล่นเหมือนกับเล่นมวย นั้นแหละ ลองอยู่สักพัก อาจารย์กิมเส็ง ท่านก็บอกว่า ใช้ได้นี่ ด้วยเหตุนี้ ครูทอง จึงไม่ได้เรียนดาบกับอาจารย์กิมเส็ง ซึ่งครูมักพูดว่าเสียดายอยู่เสมอๆ (แต่ครูทองก็มีความรู้เรื่อง การฟันดาบอยู่ไม่น้อย) เรียนอยู่สัก ๓ ปี อาจารย์กิมเส็ง ท่านก็สิ้น ครูทองได้มาช่วยเพื่อนชื่อไหว สอนมวยอยู่ราชบูรณะ และเริ่มสอนมวยอย่างจริงจัง เมื่อย้ายบ้านมาอยู่ที่ ย่านบางนา มีทหารเรือมาฝึกกับท่านจำนวนมาก ครูทองจึงได้ไป ขออนุญาต อาจารย์เขตร ว่าจะสอน ครั้นพูดจบอาจารย์เขตร ท่านก็เหวี่ยงแข้งเตะมาที่ครูทองทันที ครูทองก็รับปิดป้อง ว่องไว ตามที่ได้เรียนมา อาจารย์เขตร จึงว่า อย่างนี้สอนได้ และได้ให้ครูทองมาเรียนวิชาครูเพิ่มเติม
.....ครูทอง ท่านใช้ ชื่อค่ายมวยว่า "ค่ายศรีสกุล" ต่อมาใช้ "ค่ายสิงห์ทองคำ" แต่ซ้ำกับค่ายอื่น ท่านจึงไปกราบขอชื่อ ค่ายมวยจากอาจารย์เขตร ซึ่งก็ได้รับความกรุณาโดยอาจารย์ได้ตั้งชื่อให้ว่า " ค่ายไชยารัตน์ "ด้วยเหตุว่าครั้งเรียน วิชามวยไชยากับ อาจารย์เขตร ศิษย์ทุกคนจะใช้สกุลในการขึ้นชกมวยว่า " เชื้อไชยา " ครูทอง มีลูกศิษย์ หลายรุ่น แต่ละรุ่นท่านก็สอนไม่เหมือนกัน บางคนจะชกมวยสากล บางคนจะชกมวยไทยเวที ท่านจะสอนแตกต่างกัน ตามโอกาส
.....จนเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ ครูทอง ท่านได้ไปเผยแพร่มวยไทยคาดเชือกที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า และได้พบกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ชมรมต่อสู้ป้องกันตัว อาวุธไทย ได้ขอท่านเรียนมวย แรกๆก็ไปเรียนที่บ้านครู แต่ระยะหลังจึงได้เชิญ ครูทองท่านมาสอนที่มหาวิทยาลัย และครูได้เริ่มสอนแบบโบราณ คาดเชือกด้วยเห็นว่า ท่าย่างสามขุมของดาบ นั้นเป็นแนวเดียวกับการเดินย่างของมวยคาดเชือก จนถึง พ.ศ.๒๕๒๗ นักศึกษาจุฬา ( เคยฝึกอาวุธไทยที่ รามฯ )ได้เชิญครูท่านไปเป็น อาจารย์พิเศษที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ครูทอง จึงได้ถ่ายทอด ศิลปะมวยคาดเชือก สายไชยา ในสองสถาบัน จนพ.ศ.๒๕๓๗ จึงหยุดด้วยโรคประจำตัว ครูทองหล่อ ยาและ ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด และถึงแก่กรรมด้วยวัยเพียง ๖๗ ปี ในเวลาเช้า ๘.๔๕ น. ของวันที่ ๑๙ กันยายนพ.ศ.๒๕๓๙
.................................
วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552
ดาบบ้านขุนศึก
...งามคมบาง งามเงา เจ้าวาววับ
งามกระชับ ด้ามจับ รับทุกส่วน
งามอารมณ์ กลมกลึง กลีบบัวนวล
งามอบอวล งามอดีต ...ศาสตร์ศิลป์ไทย
...ใจเอย ใจ ใคร่อยากจับดาบตวัด
ใบดาบตัด แหวกลมพริ้ว อยู่ไหวไหว
ตวัดวน พลิกย้อน สอดคล้องใจ
สามขุมคุมหลักไว้ ให้มั่นคง
...มือหนึ่งกราย มือหนึ่งถือกุมด้ามดาบ
จิตคือดาบ ดาบคือกาย อย่าไหลหลง
คุมวิชา คุมอาวุธ ยุทธ์ยืนยง
สืบดำรง ทั้งงานช่าง ทั้งงานเชิง.
แหลม หนามทุเรียน
19 ก.ย. 52
วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ตราสัญลักษณ์
จาก “ชมรม อนุรักษ์ พาหุยุทธ์ ไชยารัตน์ และ อาวุธไทย ตำหรับ พิชัยยุทธ์”
ถึง “มูลนิธิ มวยไทยไชยา” ได้มีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบตราสัญลักษณ์ชมรมฯ,สโมสรฯ, และ มูลนิธิ, มาหลายครั้ง ทางคณะผู้จัดทำ ได้รวบรวมนำเสนอ ความเป็นมา ความหมาย ปรัชญา และรูปแบบ ของตราสัญลักษณ์ ไว้ ณ ที่นี้
พ.ศ.๒๕๒๕ ... ชมรม อนุรักษ์ พาหุยุทธ์ ไชยารัตน์
ออกแบบโดย ... คุณอมรกฤต ประมวญ ,คุณนพคุณ บำรุงพงษ์ และ คุณขวัญชาติ สุดานิจ
............................................
พ.ศ.๒๕๒๖ ... ชมรม อนุรักษ์ พาหุยุทธ์ ไชยารัตน์
ออกแบบโดย ... คุณอมรกฤต ประมวญ และ คุณขวัญชาติ สุดานิจ
.............................................
พ.ศ.๒๕๒๗ ... ชมรม อนุรักษ์ พาหุยุทธ์ ไชยารัตน์ และ อาวุธไทย ตำหรับ พิชัยยุทธ์
ออกแบบโดย ... คณอมรกฤต ประมวญ และ คุณขวัญชาติ สุดานิจ
............................................
พ.ศ.๒๕๒๘ ... ชมรม พาหุยุทธ์ ไชยารัตน์ มวยไทย ตำรับพิชัยยุทธ์
ออกแบบโดย ... คุณกฤษดากร สดประเสริฐ
.............................................
พ.ศ.๒๕๓๐ ... สโมสร พาหุยุทธ์ และอาวุธไทย (ค่ายไชยารัตน์)
ออกแบบโดย ... คุณกฤษดากร สดประเสริฐ
.............................................
พ.ศ.๒๕๔๒ ... ชมรม อนุรักษ์ พาหุยุทธ์ มวยไทยไชยา
ออกแบบโดย ... คุณอมรกฤต ประมวญ และ คุณณัฐวุฒิ เครือสุวรรณ
..............................................
พ.ศ.๒๕๔๖...มูลนิธิ มวยไทยไชยา
ออกแบบโดย ... คุณอมรกฤต ประมวญ และ คุณณัฐวุฒิ เครือสุวรรณ
...............................................
พ.ศ.๒๕๔๘...ศูนย์ศึกษา สยามยุทธ์ “ บ้านครูแปรง ” ...
ออกแบบโดย ... คุณณปภพ ประมวญ และ คุณศักย์ภูมิ จูฑะพงศ์ธรรม
.................................................
ถึง “มูลนิธิ มวยไทยไชยา” ได้มีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบตราสัญลักษณ์ชมรมฯ,สโมสรฯ, และ มูลนิธิ, มาหลายครั้ง ทางคณะผู้จัดทำ ได้รวบรวมนำเสนอ ความเป็นมา ความหมาย ปรัชญา และรูปแบบ ของตราสัญลักษณ์ ไว้ ณ ที่นี้
พ.ศ.๒๕๒๕ ... ชมรม อนุรักษ์ พาหุยุทธ์ ไชยารัตน์
ออกแบบโดย ... คุณอมรกฤต ประมวญ ,คุณนพคุณ บำรุงพงษ์ และ คุณขวัญชาติ สุดานิจ
............................................
พ.ศ.๒๕๒๖ ... ชมรม อนุรักษ์ พาหุยุทธ์ ไชยารัตน์
ออกแบบโดย ... คุณอมรกฤต ประมวญ และ คุณขวัญชาติ สุดานิจ
.............................................
พ.ศ.๒๕๒๗ ... ชมรม อนุรักษ์ พาหุยุทธ์ ไชยารัตน์ และ อาวุธไทย ตำหรับ พิชัยยุทธ์
ออกแบบโดย ... คณอมรกฤต ประมวญ และ คุณขวัญชาติ สุดานิจ
............................................
พ.ศ.๒๕๒๘ ... ชมรม พาหุยุทธ์ ไชยารัตน์ มวยไทย ตำรับพิชัยยุทธ์
ออกแบบโดย ... คุณกฤษดากร สดประเสริฐ
.............................................
พ.ศ.๒๕๓๐ ... สโมสร พาหุยุทธ์ และอาวุธไทย (ค่ายไชยารัตน์)
ออกแบบโดย ... คุณกฤษดากร สดประเสริฐ
.............................................
พ.ศ.๒๕๔๒ ... ชมรม อนุรักษ์ พาหุยุทธ์ มวยไทยไชยา
ออกแบบโดย ... คุณอมรกฤต ประมวญ และ คุณณัฐวุฒิ เครือสุวรรณ
..............................................
พ.ศ.๒๕๔๖...มูลนิธิ มวยไทยไชยา
ออกแบบโดย ... คุณอมรกฤต ประมวญ และ คุณณัฐวุฒิ เครือสุวรรณ
...............................................
พ.ศ.๒๕๔๘...ศูนย์ศึกษา สยามยุทธ์ “ บ้านครูแปรง ” ...
ออกแบบโดย ... คุณณปภพ ประมวญ และ คุณศักย์ภูมิ จูฑะพงศ์ธรรม
.................................................
วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552
หมัดคาดเชือก โรยแก้ว,ชุบกาว จริงหรือ ?
แรก ๆ ที่ได้ยินคำถาม เช่นนี้ ข้าพเจ้า ก็รู้สึกประหลาดใจ ด้วยความที่ได้ยิน ได้ฟังเรื่องราวทำนองนี้มานานเท่าอายุ อีกทั้งคนรุ่นพ่อ รุ่นปู่ เขาก็ได้ยินต่อ ๆ กันมา
ถึงเรื่อง มวยโบราณจะมีการนำแก้วมาโรยไว้ที่หมัดคาดเชือก ในการชกต่อยกัน เพื่อเพิ่มความเฉียบคมให้กับหมัด แล้วเหตุใดจึงมีความสงสัยในเรื่องนี้ไปได้เล่า ?
แต่...ก่อนที่ท่านผู้อ่านจะยอมรับหรือปฏิเสธ เรื่องที่ข้าพเจ้า ได้เกริ่นหัวข้อไว้เป็นปริศนานั้น ใคร่ขอนำท่านมาพิจารณา เนื้อหาโดยแท้ของ การคาดเชือก พันหมัด
ก่อน “ตีมวย” ขอเหล่า ฌัลละ (นักมวย) ท่านมีเหตุผลกลวิธีสร้างสรรค์ เชือกคาดหมัด มาแต่เดิมอย่างไร ดังข้าพเจ้าจะใคร่ขอเฉลยไว้ ดังนี้
๑. เชือกที่นำมาใช้ คือ ด้ายดิบ ที่มีความอ่อนนุ่ม จับเป็น ไจ รวบให้ได้ขนาดโตเท่าดินสอดำ (ปรมาจารย์เขตร์ ท่านกล่าวไว้) ปั่นให้ขึ้นรูปเชือก... ส่วนวิธีคาดเชือก
นั้นแบ่งได้ตามความนิยมของแต่ละถิ่น แต่ละภาค เช่น มวยภาคอีสาน จะพันเชือกสูงเกือบถึงศอก มวยภาคเหนือ ,มวยภาคกลาง มักพันเชือกสูงสักครึ่งแขน และมวยภาคใต้
จะพันเชือกแค่คลุมข้อมือ หรือสูงเลยข้อมือเพียงเล็กน้อย แต่ใครจะพันหมัด ถักหมัด ด้วยวิธีลีลาอย่างไร ไม่มีกฎตายตัว เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลเป็นหลัก
๒. เชือกที่เตรียมไว้ ท่านไม่กำหนดความยาวไว้ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน เริ่มด้วย คาดพันเชือกบริเวณข้อมือก่อน แล้วพันไล่ขึ้นไปคลุมถึง นิ้วก้อย
จากนั้นจึงพันเหนี่ยว รั้งเข้าที่ ร่องนิ้ว คาดกลับลงมาที่ข้อมือ เพื่อกระชับกระดูกข้อมือ ใหญ่น้อย กันให้ไม่เคล็ดหรือ ซ้น หัก เอาง่าย ๆ เมื่อชกต่อยกับคู่ปรปักษ์
๓. กติกากำหนดให้ใช้เชือกล้วน ๆ ในการพัน ไม่อนุญาตให้ใช้วัสดุอื่นใด ( ยกเว้นเพียง ขวานฟ้า เครื่องรางชิ้นเล็กที่สอดไว้ใน ซองมือ ระหว่างพันมือเท่านั้น )
ฌัลละผู้ชาญฉลาด ท่านได้นำเชือกที่เหลือจากการคาดหมัด และถัก แข้งสิงห์ มาบิดเป็นเกลียว เกิดปุ่มปมเชือก แล้ววางไว้บริเวณหลังมือ เรียก ก้นหอย และจะสักตรึงก้นหอยนั้นไว้ด้วย หางเชือก เพื่อใช้เชือกที่ได้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยความอ่อนนุ่นของเชือกด้ายดิบที่พันรัดไว้พอเหมาะ และความแข็งคมของตัวหอยที่ขดเกลียวจนได้ที่ ประกอบกับการพ่นน้ำใส่ พอชุ่ม เมื่อถักหมัดเสร็จแล้วนี่เอง ที่ทำให้เชือกเส้นหนึ่ง มีคุณสมบัติทั้งคุ้มกันและทำลายในตัวเอง ก็ด้วยภูมิปัญญาของ บรรพชนชาวสยาม โดยแท้
๔. เชือกคาดหมัด ถือเอาเป็น เครื่องราง ของขลังอย่างหนึ่ง ที่ต้องเก็บรักษาเป็นอย่างดี เมื่อ “ตีมวย” เสร็จในคราวหนึ่ง ๆ ท่านก็จะนำ เชือก ออกผึ่งแดดอ่อน
ลมเย็นจนแห้งดี จึงเก็บพันเป็นก้อน จัดวางไว้ในที่อันควร โดยไม่มีการซัก,ล้าง เชือกคาดนี้ ด้วยหมายเอา คราบเลือด เศษเนื้อ ของศัตรู คู่ปรปักษ์ ที่ติดมาจากการรณยุทธ์
เมื่อนำมาตากแห้งแข็งกรังจับตัวดีแล้ว ก็จะทำให้เชือกแข็งคม เป็นอาวุธที่ไม่ผิดกติกาในการคาดเชือก แลนำมาใช้ เมื่อเข้าโรมรันพันตูในศึกครั้งต่อไปได้อีก
๕. ก่อนการ “ตีมวย” ทุกครั้ง กรรมการมวย จะให้นักมวยเอาหมัดคาดเชือกนั้น ถูที่ใบหน้าของตน เพี่อพิสูจน์ว่าไม่ได้มีสิ่งอื่นใดซุกซ่อนอยู่ ในการคาดเชือก
คราวนั้น ๆ และยังเป็นการพิสูจน์ความเป็นลูกผู้ชาย ที่มีดี มิใช่คิดจะชิงดี เอาเปรียบผู้อื่น อีกทั้งยุคนั้นยังมี คาถาอาคม เครื่องราง เครื่องคาด ของขลัง ว่าน ยันต์ และอาพัด ต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ได้ โดยไม่ผิดกติกาใด ๆ อีกมาก อันเป็นที่นิยม เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นชายชาตินักรบ อยู่ครบครันแล้ว
๖. ฌัลละบางท่าน นั้นก็ไม่นิยมที่จะ คาดเชือกพันหมัด เมื่อขึ้นชก ด้วยเห็นว่าไม่ถนัด หรือหมัดเปล่า ๆ นั้นสามารถเรียก เลือดสด ๆ ได้ดีกว่า หมัดคาดเชือก ข้างฝ่ายกรรมการมวย ก็ไม่ได้ กำหนดเป็นกฎแต่ประการใด เป็นความสมัครยอมพร้อมใจของคู่ชก ตกลงกันเองเสียมากกว่า
เมื่อท่านผู้อ่านทราบ ถึงระเบียบวิธี คาดเชือก เป็นลำดับขั้นที่ได้กล่าวมาแล้ว รวมถึงหลายคนสงสัยใคร่รู้ กระทู้ความนี้คงตอบคำถาม คาใจ ท่านได้บ้าง แต่ผู้เขียนใคร่ขอ ตอกสลัก ปักลิ่ม ลงดานให้แน่นหนาอีกชั้นหนึ่ง ให้ท่านเชื่อด้วยข้อมูลชิ้นเล็ก ๆ ว่า แม้แต่ ครูผู้เฒ่าเก่าหลัง ท่านก็ยังกล่าวด้วยความเป็นห่วงเป็นไย ในความเชื่อ ความคิดที่บิดเบือนไป เกี่ยวกับเรื่อง คาดเชือกถักหมัด นี้ด้วยเช่นกัน ครั้งหนึ่ง ปรมาจารย์เขตร์ ศรียาภัย ท่านได้เขียนเรื่อง ปริทัศน์มวยไทย ลงไว้ในนิตยสาร ฟ้าเมืองไทย เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๑ ๔ – ๒๕๑๗ ได้กล่าวถึง หลักฐานบ้างอย่าง ที่พอจะให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบค้น ด้นหาเคล้าลาง ในเรื่องนี้อยู่บ้าง ดังนี้
เมื่อคราวที่ ปรมาจารย์เขตร์ (๗๒ ปี) ท่านได้มีโอกาสเดินทางไปที่ จังหวัดนครปฐม เพื่อเข้าพบปะพูดคุยกับ ครูตู้ ไทยประเสริฐ (๗๘ ปี) ซึ่งท่านเป็นน้องชาย ของ แดง ไทยประเสริฐ (มวยโคราช) ผู้มียศเป็นถึง ท่านหมื่นชะงัดเชิงชก ( ร.๕ ) ครูตู้นั้นท่านเป็นนักมวยใน ยุคสนามมวยสวนกุหลาบ (ร.๖ ) ในการชกมวยคู่ประวัติศาสตร์ ที่ นายยัง หาญทะเล ชกกับ จี๊ฉ่าง นั้น ครูตู้ ท่านชกกับ นักมวยจีนนาม ไงใต้ฉิน เป็นคู่ถัดมา ผลท่านชนะด้วยการเตะจนคู่ต่อสู้ท่านถึงหมอบกระแต
ครั้น ท่านปรมาจารย์เขตร์ ถามถึงปัญหาที่มีผู้ลือกันหนาหูว่า เมื่อยุคนั้นได้มีการใช้ แก้วโรยเชือกคาดหมัด เช่นเดียวกับ ป่านคม (เชือกว่าว ที่เอาผงแก้วโรยให้คม)เป็นความจริงหรือไม่ ครูตู้ ไทยประเสริฐ ท่านยืนยันอย่างหนักแน่นว่า
“ ไม่เคยพบเห็นเรื่องอย่างนี้เลย ตลอดเวลาอันยาวนานที่ตนใช้ชีวิตเป็นนักมวย และเป็นครูมวยมา ”
ซึ่งความข้อนี้ก็เป็นเรื่องที่ ครูเขตร์ ท่านปรารภไว้เสมอ ๆ ด้วยความเป็นห่วงว่า ความเข้าใจผิดในเรื่องนี้ จะก่อความเสียหาย และส่งผลให้ภาพพจน์ของ มวยโบราณคาดเชือก ถูกมองว่า โหดร้าย ป่าเถื่อน และท่านก็ได้ อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาของท่านในเรื่องนี้มาตลอด ( ฟ้าเมือไทย ฉบับ ๒๓๘ หน้า ๑๐ )
นับได้ว่า บันทึกบทนี้ ทำให้ภาพประวัติศาสตร์วงการมวยไทย ถูกมองด้วยสายตาที่เป็นจริงอีกครั้ง ด้วยเหตุสำคัญว่า ครูตู้ ท่านเป็นมวยโคราช (ภาคอีสาน) มีพี่ชายเป็นถึง หมื่นชะงัดเชิงชก และ ปรมาจารย์เขตร์ ท่านเป็นมวยไชยา (ภาคใต้) และเป็นศิษย์ อาจารย์ กิมเส็ง (สุนทร ทวีสิทธิ์) มวยพระนคร (ภาคกลาง) ครูมวยผู้มีชื่อเสียง
โด่งดังแห่งโรงเรียนพละศึกษากลาง ( ร.๖)
ประเด็นอันสำคัญคือ ครูตู้ , ครูเขตร์ ท่านทั้งสองเป็นคนในวงการมวย คลุกคลีใกล้ชิดอย่างผู้รู้จริง มีชีวิตอยู่ในยุครุ่งโรจน์ของมวยคาดเชือก จนถึงมวยไทยยุคปัจจุบัน จากรัชกาลที่ ๕ – รัชกาลที่ ๙ (ครูเขตร์ ท่านยังได้รับการยกย่องให้เป็น “ปรมาจารย์มวย” ) เท่ากับว่า ความรู้ในเรื่องมวยของท่านทั้งสองครอบคลุม สามในสี่ภาคของประเทศ และตลอดระยะเวลาร้อยกว่าปี ที่ผ่านมาท่านทั้งสองยืนยันตรงกันว่า ไม่เคยพบเห็นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเลย กับการคาดเชือก ตลอดช่วงชีวิตของท่าน
ถึงตรงนี้อาจมี ท่านผู้รู้บางท่าน แย้งขึ้นว่า การโรยแก้ว คลุกทราย แม้จะไม่มีใน การชกมวยคาดเชือก หากแต่ในยามศึกสงคราม หรือการชกต่อยของชาวบ้าน อาจจะมีการทำเช่นนั้นก็เป็นได้ ข้าพเจ้าใคร่ขอให้ท่านผู้มีภูมิปัญญา ทัศนาหาเหตุผลด้วย สิ่งที่มีอยู่เถิด
ประการแรกสุด ต้องมีเชือกคาดหมัด ซึ่งข้อนี้ไม่กังขา ด้วย ครูทอง ( ศิษย์ปรมาจารย์เขตร์ ศรียาภัย ) ครูของข้าพเจ้า ได้อบรมสั่งสอนศิษย์ เรื่องจัดเตรียมจัดหาเชือกด้ายดิบ รวมถึงสอนวิธีคาดเชือกถักหมัด ให้รู้มาบ้าง และ ครูมวยหรือท่านผู้รู้หลายท่านก็คาดเชือกกันได้
ประการต่อมา แก้ว ซึ่งแก้วนั้นจะมีมาแต่ยุคสมัยใดในสยามไม่ปรากฏ แต่ในสมัยอยุธยา แก้วน่าก็เป็นของมีค่ามีราคาหลายอัฐอยู่ มีใช้มีหาแต่ในรั้วในวังเป็นหลัก ชาวบ้านร้านตลาด คงยากที่จะหา แก้ว มาทุบเล่นเป็นแน่ เอาเป็นว่าถ้าเกิดมี แก้ว หรือ เปลือกหอย, กระเบื้องดินเผา ที่หาง่ายกว่าและมีในประเทศ ( บ้างว่าใช้ ทราย การคลุกด้วยทรายนั้นดูจะไม่ดีนัก เพราะแม้กาวจะจับทราย (นึกภาพกระดาษทราย ) แต่หากมีการต่อสู้ ทรายคงกระเซ็นเข้าหูเข้าตาทั้งสองผ่าย ถึงจะมีอาคมดี วิชาเหนียว ผิวกายฟันแทงไม่เข้า แต่ทวารทั้งแปด โบราณว่ายากที่จะป้องกัน เมื่อทรายเข้าตาเสียแล้ว จะชกต่อยกันได้อย่างไร คงต้อง “เปิดมือ” ไปล้างหน้าล้างตา ให้เสียเวลา เสียอรรถรส ท่านผู้ชมเป็นแน่ วิธีนี้ดูจะไม่เหมาะนัก)
ประการสำคัญ ต้องมีวัสดุที่ใช้ติด และกาวที่ดีที่สุดในยุคนั้นคงเป็น ชัน (ยางไม้สำหรับยาเรือ) ชันสน (ได้จากการกลั่นยางสน ) หรือไม่ก็ รัก (ยางพิษที่ได้จากไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เรียก น้ำรัก ) คุณลักษณะของ ชัน และ รัก เหล่านี้ ท่านผู้คุ้นเคยกล่าวว่าใช้เวลาเป็นหลายวันหรือเป็นอาทิตย์ จึงจะแห้งสนิทดี เอาละเป็นอันว่าได้กาวแล้ว คือ ชัน และ รัก ครั่ง (ได้จาก เพลี้ยหอย แมลงชนิดหนึ่งที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช และผลิตสารออกมาเรียก ขี้ครั่ง ) ครั่งก็ยังใช้ไม่ได้ ด้วยเหตุที่ เมื่อแห้งจะแข็งเปราะ แตกหักง่าย ยางไม้ นั้นคงเหนียวไม่พอกับการใช้ งานนี้จึงตกไป ( คงต้องตัดประเภทเหนียวแห้งเร็ว อย่าง กาวตราช้าง กาวยูฮู ที่เป็นเทคโนโลยี่ปัจจุบัน)
ประการสุดท้าย ขั้นตอนประกอบสิ่งที่มีอยู่แล้ว ก่อนอื่นต้อง คาดเชือกพันหมัด แต่ไม่ต้องขดก้นหอย เว้นพื้นที่บนหลังมือไว้ นำชันหรือรัก ทาลงที่หลังมือ นำ แก้ว เปลือกหอย เศษกระเบื้อง ที่ทุบละเอียด หรือจะทุบพอแตก ถ้าทุบละเอียดแล้วเอาหลังมือลงคลุก ก็นั่งรอให้แห้งสักวันครึ่ง ถ้าทุบพอแตก จะจับที่ละอัน เสียบลง
กาวบนหลังมือ ยกคมขึ้นแบบหนาม หรือจะวางซ้อน ๆ แบบเกล็ดปลา แล้วก็นั่งรอกาวแห้งสักวันครึ่ง จะยังไงก็คงไม่ดีแน่ ด้วยคมแก้วย่อมมีมากกว่า สองมุม คมอีกด้านก็คงไม่พ้นหันมาทิ่มมือตัวเองเป็นแน่ ยิ่งเคยได้ยินมาว่า เอามือลงชุบยางไม้ หรือน้ำข้าวทั้งสองมือเลย ก็ยิ่งแคลงใจ คาดเชือกแบบไชยายังพอทน แต่คาดแบบโคราช คงจะน่าดู ครูทองท่านกล่าวติดตลกว่า “ กว่าจะรอให้แห้ง ใช้เวลานานแค่ไหน แล้วจะกินข้าว ล้างก้นกันอย่างไร มือจะไม่เหมือน ตีนเป็ด หรอกหรือ ”
กลโกงในการชกต่อยมวยคาดเชือก ที่พอมีบันทึกไว้... ก็เพียงว่า เมื่อคาดเชือกพันหมัดแล้ว ให้เคี้ยวข้าวเหนียว แล้วพ่นลงไปพร้อมกับน้ำ ทำทีเป็นพ่นน้ำตามธรรมดาก่อนการขึ้นชก ระหว่างที่รำมวยไหว้ครู ชั่วพอข้าวแห้ง ข้าวเหนียวก็จะจับกันแข็ง นั่นก็ยังนับว่าเป็นกลโกงอยู่ดี ไม่ใคร่ทำกันในหมู่นักมวยให้เสียเชิงชาย
เป็นอันสรุปว่า หากท่านผู้อ่านที่นับถือท่านใด มีข้อมูลที่เป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ หรือครูอาจารย์ท่านได้สอนสั่งถึงวิธีการ และรวมถึงสามารถทำได้ ถึงวิธีการนำเอา แก้ว, เปลือกหอย , ชัน, กาว, ทราย มาใช้กับเชือกพันหมัดได้ โปรดช่วยชี้แนะ หรือโต้แย้ง เพื่อให้ความกระจ่าง ให้ความรู้แก่ประชาชนในวงกว้าง ต่อไป...
แต่....หากว่าไม่มี และจำนนต่อถ่อยคำของ ครูผู้เฒ่าทั้งสองท่าน ดังที่ได้บันทึกเอาไว้ ข้าพเจ้าใคร่ขอเรียกร้องให้ ท่านผู้มีปัญญา มีวิจารณญาณทุกท่าน โปรดได้ช่วยกันบอกสิ่งที่ถูกต้องต่อ ๆ ไป เพื่อให้ ลูกไทยหลานไทย คนรุ่นใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาศึกษาเรียนรู้ศิลปะวิทยาโบราณไทย ได้รับรู้ในสิ่งที่ถูกต้องว่า มวยไทยมิใช่จะป่าเถื่อน โหดร้าย อย่างที่คิด มาช่วยกันต่อลมหายใจศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของไทย ให้ยืนยาวสืบต่อไปอีกสัก ๑๐ ปี ของชีวิตท่านเถิด.
ทุ่มทับจับหักในมวยคาดเชือก
....ข่าวความพ่ายแพ้ ของนักมวยไทย ที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปชกถึงดินแดนแห่งมังกร จีนแผ่นดินใหญ่ นั้นอาจทำให้บรรดาเซียนมวยในไทยหลายๆคนถึงกับกระเป๋าฉีก ส่วนคนไทยอีกหลายหมื่นหลายแสนคนคงต้องผิดหวัง จนอดตั้งข้อสงสัยไปต่างๆนานา ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น ในแง่ มวยไทยไร้ศิลปะแล้วหรือ, กติกาทำให้มวยไทยเสียเปรียบหรือไม่, และที่หนักไปกว่านั้นก็คือ มีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้องหรือเปล่า การที่ทางผู้จัดประกาศว่าจะนำเอาศิลปะมวยไทย ไปเผยแพร่ให้คนจีนได้รู้จักถึงกับจะนำไปเปิดค่ายมวยไทยสอนในจีน แต่ผลการชก ที่ผ่านมา ทีมนักมวยไทยพ่ายแพ้ อย่างน่ากังขา แล้วก็ยังไม่สามารถแก้ทางมวยถีบมวยทุ่มของปรปักษ์ได้เลย นักมวยจีนก็อาจหาญ ถึงกับไม่กลัวการเตะที่ได้ชื่อว่า รุนแรง หนักหน่วงของมวยไทยที่ทั่วโลกต่างยอมรับ โดยตรงเข้าก้มลงกอดรัด กระชากขาให้ฝ่ายไทยล้มลงไป เพื่อเรียกเก็บคะแนนได้ทุกครั้ง ความที่กีฬามวยปล้ำของชนพื้นเมือง ชาวมงโกล ได้รับความนิยม จึงทำให้นักมวยจีน มีความถนัดในการปล้ำกอดรัด กดด้วยเรียวแรง มากกว่าการต่อสู้ ชิงคมแลกอวัยวุธหมัดเท้าเข่าศอกอย่างมวยไทย
หากจะกล่าวถึงกติกา ก็คงเหมือนกติกามวยไทยทั่วไป เพียงแต่เพิ่มการทุ่มเข้ามา ( ซึ่งก็น่าจะมีการปรับปรุงกติกามวยไทย ยอมรับการทุ่มได้แล้ว เพราะกีฬาการต่อสู้ในหลายๆประเภทรอบๆบ้านเรานั้นมีการทุ่มการจับหักฝึกกันอยู่แล้ว หากมวยไทยละเลยไปก็จะเป็นการเสียเปรียบ ทั้งที่หลักการเหล่านี้มีอยู่แล้วในมวยไทยโบราณ ) แต่ก็ยังอนุญาตให้ใช้ ศอกเข่าได้ถึงจะมีเครื่องป้องกัน และการใช้จะไม่ได้คะแนนก็ตาม แต่ดูๆไปแล้วก็ไม่น่าจะเสียเปรียบกันมากนัก เพราะฝ่ายนักมวยจีน ใช้ศอกเข่าไม่ค่อยเป็น จึงเน้น ถีบเตะ ทุ่ม ฝ่ายนักมวยไทย ก็ใช้อวัยวุธได้ครบทุกอย่าง การปล้ำการทุ่มในมวยเวที ก็มีให้เห็นอยู่บ้าง ศอกเข่า ที่ใช้ แม้ไม่ได้คะแนน แต่ก็เป็นที่หวั่นเกรงของนักมวยจีน อยู่ไม่ใช่น้อย ทั้งยังเป็นไม้สั้น ค่อยสกัดการเข้าประชิดติดตัวได้ดี ควรจะใช้ในระยะที่นักมวยจีนเข้ากอดรัด ให้ปรปักษ์ถอยห่างให้อยู่ในระยะที่จะ ออกอวัยวุธยาวอย่าง ต่อย เตะ ถีบ ยัน ได้ถนัด การกอดรัดและทุ่มอย่างที่นักมวยจีนกระทำนั้น ไม่ใช่ไม่มีทางแก้.....
มีเรื่องเล่าถึงมวยคาดเชือกใน ยุคสมัย ร.๖ ณ.สนามมวยสวนกุหลาบ พ.ศ.๒๔๖๓-๒๔๖๕ มีการจัดตีมวยเพื่อหาเงินซื้อปืน เข้าสนับสนุนกิจการของ กองเสือป่า โดยมี พระยานนทิเสนสุรินทรภัคดี (แม็ก เศียรเสวี)แม่กองเสือป่า เป็นผู้จัดการแข่งขันขึ้น ที่บริเวนสนามฟุตบอลโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยให้สมุหเทศาภิบาลและข้าหลวงทั่วประเทศ จัดหา นักมวยคาดเชือกที่มีฝีมือดี จากหัวเมืองต่างๆ ส่งเข้ามาในพระนคร มวยคู่หนึ่งที่เป็นมวยประวัติศาสตร์ ก็คือ คู่ของ นายยัง หาญทะเล กับ จี๊ฉ่าง (จีนฉ่าง) ซึ่งเป็นมวยไทยชกมวยกังฟู ที่ถือว่าเป็นคู่แรกในไทยที่ได้รับการกล่าวถึงมากในยุคนั้น
นายยัง หาญทะเล เป็นนักมวยโคราช (เมืองมวย)เข้าพระนครโดยพักอยู่ที่ วังเปรมประชากร ในอุปการะของ เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ศิษย์เอกของ หลวงพ่อสุก (พระครูวิมลคุณากร) แห่งวัดมะขามเฒ่า ส่วนทางฝ่าย จี๊ฉ่าง เป็นนักมวยสั่งตรงจากเกาะฮ่องกง ในการสนับสนุนของ สโมสรสามัคคีจีนสยาม โดย นายเค็งเหลียน สีบุญเรือง และนายฮุน กิมฮวด จัดส่งเข้าชก (บ้างก็ว่า จี๊ฉ่าง เป็นชาวกวางตุ้ง มาเป็นอาจารย์ใหญ่สอนมวยจีน ย่านสำเพ็ง ) การชกในครั้งนั้น ฝ่ายจี๊ฉ่าง ซึ่งถือว่ามี มือที่แข็งแกร่งทรงพลัง ถนัดจับหักกระดูกหรือแทงด้วยนิ้ว เรียกกันว่า เลียะพะ สามารถแทงไม้หนา๒นิ้วให้ทะลุได้ เมื่อนักมวยไทยไหว้ครูเสร็จ จี๊ฉ่างจึงไม่รั้งรอที่จะรุก ทะลวงเข้าชกต่อย คว้าจับเอาด้วยกำลังก่อน ฝ่ายนายยัง หาญทะเลได้แต่ถอยเอาเชิง พลิกเหลี่ยมซ้ายขวาหลบ พร้อมกับใช้ไม้กล "หนุมานควานสมุทร" ซึ่งเข้าใจว่า บรมครูเสด็จในกรมฯ ท่านได้ฝึกสอนมาเป็นพิเศษ แทนท่าครูที่มวยโคราชนิยมใช้กัน โดยใช้ท่อนแขนไขว้ แกว่งสลับไปมาระหว่างอก ป้องกันกระโจนจับหรือแทงด้วยนิ้วของปรปักษ์ จี๊ฉ่างตามติด ด้วยกำปั้นบ้าง กงเล็บบ้าง นายยังได้แต่ กระหยดถอย และ สลับเหลี่ยมหลอก เบี่ยงตัวซ้ายขวา ตีตอบด้วยหมัดเหวี่ยงควายบ้างเตะฉากตัวออกบ้าง ตามกลมวย หนีเอาชัย เมื่อเขาแรง เราอ่อน ( มิใช่จะเข้าแลกให้ถูกชกโดยไม่จำเป็น ) ทันใดนั้นเอง จี๊ฉ่างก็ปล่อยกำปั้น หมายตรงเข้าที่ ลานหัว(กระหม่อม) ของนายยัง ไม่มีใครคาด นายยัง ย่อตัวลงต่ำ หลบกำปั้น แล้วกลับกระโจนขึ้น อัด เข่าโทน(เข่าตรง) เข้ากลางอกมังกรจีน จนหงายหลัง ก้นกระแทกพื้นเวที ยังไม่ทันที่นายยังจะง้างแข้งตาม กรรมการก็เข้านับ และเสียงกลองก็ดัง หมดยกเสียก่อน
เริ่มยกสอง นายยังย่ามใจบุกเข้าหลอกขวา แล้วพลิกเหลี่ยมเตะซ้ายเข้าชายโครง ตามด้วยหมัดตรงซ้ายขวา โดนเข้าร่างจี๊ฉ่างทั้งทียังเอนเอียงอยู่ แต่ด้วยกำลังภายในหรืออย่างไรไม่ทราบ มังกรจี๊ฉ่าง ปิดป้องพร้อมกับเสือกหมัดหงายเข้าใส่หน้านายยัง ทั้งๆที่ปิดอยู่แต่นายยังก็ถึงกับกระเด็นไปพิงเชือกและตามด้วยพายุกำปั้นทั้งสับทั้งทุบโดยไม่ให้ตั้งตัว นายยังได้แต่พลิกตัวล้มลุกคลุกคลานหลบ จนตกเวทีแต่ด้วยความคล่องตัวนายยังรีบปีนเชือกขึ้นมายืนสามขุมบนเวทีได้ก็กระโจนเข้าหาคู่ต่อสู้ จี๊ฉ่างที่รอท่าอยู่แล้วจึงปล่อยหมัดเสยออกเต็มแรงจีน ถูกนายยังถึงกับเข่าทรุด แต่ก็แก้สถานการณ์ได้ด้วยการเหวี่ยงแข้งซ้ายขวาทั้งบนล่างตัดขาตัดลำตัว จนจี๊ฉ่างถึงกับถอย เมื่อได้จังหวะนายยังก็เหวี่ยงควายเข้าขากรรไกรจนปรปักษ์หัวทิ่มปักเวที แม้จะมีธาตุทรหดและเก่งกาจแต่จี๊ฉ่างก็ถูกนายยังชกล้มลงไปอีกสองครั้งก่อนจะหมดยกสอง
ครั้นยกที่สาม นายยังพยายามเข้า ตีวงใน ทั้งคู่ผลัดกันรุกรับติดพัน จนเมื่อแยกจึงได้เห็นว่าที่หัวของจี๊ฉ่างมีเลือดไหลออกมา นายยังย่างสามขุมเข้าหา ทำทีง้างหมัดขวา พอจี๊ฉ่างหลงกลปัด จึงถูกแข้งขวาของนายยังเหวี่ยงลำตัว จนใกล้หมดยก มังกรจีนก็อาบได้ด้วยเลือดจากหัวถึงหน้าอก นายยังกำลังห้าวเหมือนไฟได้ฟืน ผลักปรปักษ์ออกในระยะแล้วพลิกแข้งเต็มแรงเข้าใต้รักแร้ด้านหัวใจ จี๊ฉ่างถึงสะดุ้งรีบคว้าขานายยังได้ดึงเข้าหาตัว หมายจะควักหักกระดูกไหปลาร้า ด้วยไม้ตายฝ่ายจีน นายยังรีกกระชากขากลับสุดแรง ทำให้ฝ่ายตรงข้ามคะมำหน้าตาม คู้กอดเข่านายยังไว้ โดยไม่รอช้า นายยังระดม หมัดเหวี่ยงควาย เข้าที่กกหูจี๊ฉ่างอย่างจักรผัน จนหูซ้ายของจี๊ฉ่างมีเลือดซึมไหลออกมา ผู้ตัดสินเข้าแยก จี๊ฉ่าง แม้จะยืนด้วยอาการอ่อนระโหยโรยแรง แต่กลับพุ่งหมัดเข้าฉกรวดเร็ว นายยังฉากหลบ ในจังหวะพริบตาที่มังกรไฟ เบือนหน้าบ้วนเลือด หมัดขวาของนายยังซึ่งง้างมาแต่ข้างหลังก็หวืดเข้าที่โหนกแก้มจนจี๊ฉ่างผงะถลาล้ม เป็นช่วงที่นายยังพลิกเหลี่ยมมวยตวัดตีนซ้ายหวดเข้าเต็มหน้า จนจี๊ฉ่างจอมทรหด กางมือกลิ้งลงพื้น กรรมการโดดเข้านับถึง๑๐ จี๊ฉ่างพยายามลุกขึ้น เลือดเต็มหน้าแล้วกลับเอียงซ้ายพับลงพื้นเวทีอีกครั้ง มังกรแดงแห่งฮ่องกง ต้องพ่ายแพ้แก่ ยัง หาญทะเล เสือร้ายจากที่ราบสูง ยังไม่ทันครบ๑๑ยก นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเมื่อ ๘๑ ปีมาแล้ว แต่หากมองในแง่ พาหุยุทธศิลป์วิทยาการ แล้วจะเห็นว่า ในการชกมวยคู่สุดยอดนี้ จะมีทั้งชั้นเชิง ลีลา กลรับรุก กลแก้ทางมวย ที่ถูกใช้ออกมาด้วยร่างกายและสติปัญญาบวกกับศิลปะการต่อสู้อันช่ำชอง ( คัดดัดแปลงจาก " ปริทัศน์มวยไทย " โดย ปรมาจารย์ เขตร์ ศรียาภัย )
ทุ่ม ทับ จับ หัก ในมวยคาดเชือกนั้นเป็นกลมวยชั้นสูง ที่ผู้ฝึกจะต้องเรียนรู้พื้นฐาน การบริหารร่างกายเพื่อพาหุยุทธ พร้อมฝึกฝน ท่าย่างสามขุมตามแบบของแต่ละครู เรียก " ท่าครู " รวมทั้ง แม่ไม้ ่ต่างๆเช่น การออกอาวุธ ป้องปัดปิดเปิด ป้องกัน ตอบโต้ ให้เชี่ยวชาญดีแล้ว จึงจะสามารถแตก แม่ไม้กล ลูกไม้ กลรับ กลรุก ล่อหลอก หลบหลีก ทั้งยังต้องฝึกซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อให้ใช้ออกไปจึงจะเกิดความคม เด็ดขาด รุนแรง ท่วงท่าลีลางดงาม เข้มแข็ง ดังใจ
เช่น ท่าครูมวยไชยา (ท่าย่างสามขุมคุมแดนยักษ์) นั้นได้ชื่อว่ามีความรัดกุม เฉียบคม จนสามารถชนะการแข่งขันหน้าพระที่นั่ง สมัย ร.๕ เมื่อคราวจัดให้มีงาน ณ.ทุ่งพระเมรุ ป้อมเผด็จดัสกร กรุงเทพฯ คือ นายปล่อง จำนงทอง ที่สามารถใช้ " ท่าเสือลากหาง " โจนเข้าทุ่มทับจับหักปรปักษ์ จนมีชัย ได้รับการแต่ตั้งให้เป็น " หมื่นมวยมีชื่อ " ท่าที่ใช้จับทุ่มรับการจู่โจมด้วย เตะ ถีบ เข่า อย่าง " ถอนยวง " นั้นสามารถทุ่มโยนปรปักษ์ออกไป หรือ จับกดหัวให้ปักพื้นแล้วทับด้วยก้นหรือเข่าได้ หากเป็นการรุกด้วย หมัด นั้นให้แก้ด้วย " ขุนยักษ์พานาง " หรือ " ขุนยักษ์จับลิง " ศอก แก้ด้วย " พระรามหักศร " และยังมีท่าอื่นๆอีกมากที่ครูบาอาจารย์แต่โบราณท่านมิได้กำหนดชื่อเอาไว้ ทั้งหมดนี้ผู้ใช้จำต้องรู้เคล็ด ป้องปัดปิดเปิด และ กลประกบประกับจับรั้ง เป็่นท่าร่วมเพื่อเข้าจับหักด้วยมือหรือ เกี้ยวกวัดด้วยท่อนแขน ฯลฯ
หลักการทุ่มทับจับหักแต่โบราณมีอยู่และใช้ได้จริง หากแต่จะขอกล่าวโดยสังเขป เพื่อยืนยันถึง ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ที่สร้างสรรค์ศิลปะการต่อสู้ เพื่อปกป้องบ้านเมืองในยามศึกสงคราม หากว่าอนุชนรุ่นหลังจะใส่ใจ หันกลับมา ส่งเสริม ศึกษาวิทยาการโบราณเอาไว้บ้างละก็ นักมวยไทยก็คงจะยืนชูมืออย่างภาคภูมิใจบนสังเวียนผืนผ้า ไม่ถูกรัดถูกทุ่มจนเกือบตกเวที อีกเป็นแน่ และเหล่าเทนเนอร์ก็คงไม่ถึงกับต้องระดมสมองกันคิดแก้ท่าถีบของนักมวยจีน โดยละเลยที่จะถามครูผู้เฒ่าที่นั่งเฝ้าทอดถอนใจอยู่ข้างหลังปล่อยให้ภูมิความรู้ความสามารถที่ท่านได้สั่งสมมาจากประสบการณ์ จากครูเก่า รุ่นต่อรุ่น กลับต้องสูญค่าไป ในสายตาคนรุ่นใหม่
ชัยชนะของ ครูยัง หาญทะเล กับคุณค่าแห่งศาตร์และศิลป์ในมวยหมัดพันด้ายดิบ คงจะเป็นดังหนึ่ง ภาพลายไทยลอกหลุดในโบสถ์เก่า รอวันที่จะลบเลือนหาย หรือได้รับการบูรณะซ่อมแซม ให้กลับมาอวดความงดงาม พร้อมทรงคุณค่า เพื่ออนุชนรุ่นต่อไปจักได้ภาคภูมิใจ ในความเป็น "ไท" แห่ง "สยามประเทศ" อีกครั้ง.
วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2550
พาหุยุทธ์ ฯ - อาวุธไทย ฯ
พาหุยุทธ์ มวยไชยา และ อาวุธไทย พิชัยยุทธ์
คำปรารภ
...เมื่อผู้เขียนได้รับการทาบทามให้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่อง มวยไทยโบราณและมวยคาดเชือกไชยา ผู้เขียนรู้สึกว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่จะเขียนถึงวิชาที่สูญไปจากวงการนับร้อยปี ทำให้ต้องไตร่ตรองอยู่หลายวัน ด้วยเหตุหลาย ๆ ประการ แต่เมื่อได้ทบทวนดูแล้ว ถ้าผู้เขียนจะเก็บเอาความรู้ที่ครูบาอาจารย์ได้พร่ำอบรมสั่งสอนอย่างอดทน เพื่อจะนำพาไปสัมปรายภพด้วยอย่างไร้ความหมาย ย่อมอกตัญญูต่อครูบาอาจารย์และชาติอย่างไม่น่าให้อภัย จึงปลงตก ถือเสียว่าเป็นการทำเพื่อถวายพระคุณของครู และสนองคุณแผ่นดินก่อนตาย
ข้อเขียนทั้งหลายและต่อ ๆ ไปในภายภาคหน้า (หากมีผู้สนใจติดตาม) ขอให้ทราบไว้ด้วยว่าผู้เขียนได้เขียนตามที่ผู้เขียนได้ศึกษาเล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ ซึ่งอาจผิดแผกไปจากของคณาจารย์ของสำนักอื่น ๆ ก็อาจเป็นได้ และบางช่วงบางตอนอาจเป็นคำกล่าวคำพูดของครู ของอาจารย์ปู่ และบาจรีย์ทุกท่าน ที่ได้เคยเขียนเคยพูดและเคยฝากผลงานไว้เป็นเลิศแล้วเมื่ออดีตกาล อันเป็นการเชิดชูผลงานของท่าน มิได้อวดรู้ อวดภูมิ ตีตนเสมอครูบาอาจารย์ แต่อย่างใด เพราะความรู้ผู้เขียน เปรียบเหมือนแสงหิ่งห้อยที่ไม่อาจหาญเปรียบแสงสุริยะฉาย
ลูกหลานโปรดจำไว้
“เป็นครูท่าเดียว วันเดียว เดือนเดียว ปีเดียว...ถือเป็นครูตลอดชีวิต จงกตัญญูและตอบแทนดูแลท่านตามควร "
....................................................
ปฐมบท
...สิ่งมีชีวิตทุกสิ่งเกิดมาย่อมต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการมีชีวิตอยู่รอด ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ประเสริฐที่เรียกตัวเองว่า มนุษย์ ต่างต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อชีวิตอยู่รอดนับแต่ยังไม่ปฏิสนธิเสียอีก สัตว์โลกย่อมมีวิธีการต่อสู้เฉพาะที่ร้ายกาจเหมาะกับตัวมันเอง เพื่อเอาตัวรอด เพื่อหาอาหาร สัตว์เดรัจฉานแสดงอาการต่อสู้โดยสัญชาติญาณ ส่วนเวไนยสัตว์ (สัตว์ที่สอนได้) หรือมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐ นับเป็นผู้ที่มีสมองและสติปัญญาสามารถที่พัฒนาได้อย่างไม่สิ้นสุด ย่อมมีการวิวัฒนาการและพัฒนาการการต่อสู้ที่มีสมรรถภาพอย่างไม่หยุดยั้ง
หากเรามีความเชื่อในทฤษฎีที่ว่ามนุษย์มีวิวัฒนาการมาจากวานร ตามประวัติมนุษยชาติ มนุษย์ย่อมมีการต่อสู้กันนับตั้งแต่เริ่มไต่ลงมาจากต้นไม้ เมื่อประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว อีกทั้งสัญชาติญาณดิบนับแต่เป็นวานรย่อมยังคงหลงเหลือติดอยู่ในสายเลือดอยู่บ้างไม่มากก็น้อย มนุษย์สมัยดึกดำบรรพ์จึงต่อสู้กันไม่ต่างไปจากสัตว์เดรัจฉานมากนัก คือสู้กันตามสัญญาณชาติดิบ ๆ ที่มีมาตามธรรมชาติ โดยใช้อวัยวุธ (อวัยวะของร่างกายที่ใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้) ในร่างกายทุกอย่างที่ธรรมชาติประทานมา ทำร้ายซึ่งกันและกัน “ปากกัด ตีนถีบ มือฉุด ข่วน ตะปบ แขนฟาด หมัดต่อย ทุบ ศอกถอง เข่ากระทุ้ง ก้นกระแทก แบกบ่า ทุ่มทับ จับหัก ควักนัยน์ตา ฯลฯ” หยิบฉวยได้สิ่งใดใกล้มือที่ใช้ทำร้ายคู่ต่อสู้ได้ ก็ใช้สิ่งนั้น เช่นกระดูกสัตว์ กิ่งไม้ ก้อนหิน กระบอง ลูกดอก หน้าไม้ กระสุน ซึ่งชนะก็แย่แพ้ก็เกือบตาย อันเป็นการใช้พละกำลังเข้าหักหาญกันโดยแท้ (ยังขาดศาสตร์และศิลป์เพราะยังไม่พัฒนา) มีอยู่อย่างเดียวก็คือเพื่อเอาตัวรอดเท่านั้น มนุษย์ในสมัยโบราณจึงต่อสู้เพื่อเหตุใหญ่ ๆ ๒ ประการคือ
๑. แย่งอาหาร และแดนหากิน
๒. เกิดการหึงหวงมนุษย์ที่ออกลูกได้
...การต่อสู้ในสมัยดึกดำบรรพ์ ขณะที่มนุษย์อยู่ถ้ำ อยู่โพรงไม้ มักเป็นการต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว หรือเป็นเฉพาะครอบครัวเล็ก ๆ เพียงครอบครัวเดียวเท่านั้น แต่โดยแท้แล้วมนุษย์เป็นสัตว์ที่เกิดมาอย่างมีสัญชาติญาณแห่งความขลาดกลัว และสัญญาแห่งการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสังคม มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความฉลาด มีปัญญา ความเจ็บปวด ความตาย ความสูญเสีย ความเสียใจ ความโศกเศร้า ทำให้มนุษย์ เกิดความคิดรู้จักคบค้าสามัคคีไปมาหาสู่กัน และรีรอกัน อันนับเป็นปฐมการณ์อย่างหนึ่งที่ทำให้มนุษย์รวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นชุมชน จากกลุ่มเล็ก ๆ เป็นกลุ่มใหญ่ จนเป็นรัฐและเป็นประเทศชาติขึ้น การตัดสินปัญหาข้อพิพาทและการต่อสู้กันด้วยกำลังของมนุษย์จึงเริ่มเปลี่ยนไปเป็นถ้อยทีถ้อยอาศัยอนุโลม ปฏิโลมต่อกัน
ดูเหมือนจะเป็นการดีเมื่อมนุษย์สามารถรวมกันเป็นพวกได้ กรณีพิพาทกันเองดูน้อยลง และแก้ไขได้ตามกฎระเบียบของกลุ่มชนที่มีการตกลงร่วมกัน ความระแวงระวังแบบสัญชาติญาณป่าน้อยลง รู้สึกอบอุ่นขึ้น แต่การรวมกลุ่มของมนุษย์มิได้มีกลุ่มเดียว มิใช่มีเพียงชนเผ่าเดียว ความเห็นความคิดของแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน ภาษาต่างกัน อุดมคติ อารมณ์ต่างกัน ความเชื่อต่างกัน มนุษย์ยิ่งเจริญขึ้นมนุษย์ยิ่งมีการขัดแย้งต่อสู้กันรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมพิพาทกันเพื่อแย่งชิงอาหารแดนทำกิน แย่งมนุษย์ที่ออกลูกได้ ยังต่อสู้กันเพราะขอช้างเผือกไม่ได้ดังใจ ขอคืนหญิงงามไม่สำเร็จ มีหลายสาเหตุที่อาจพิพาทกันได้ทุกเมื่อ การต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว กลายเป็นมหาสงครามระหว่างประเทศ
กำเนิดของพาหุยุทธ์มวยไทยโบราณ
...ตามประวัติศาสตร์ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ชนชาติไทย ถูกสันนิษฐานว่ามีอายุไร่เรี่ยกับความเจริญของชาวอียิปต์ บาบิโลเนีย และอัสสิเรีย ไทยเป็นชาติที่มีความเจริญมาก่อนจีน และก่อนชาวยุโรป มีการปกครองและมีระเบียบแบบแผนเป็นปึกแผ่น อยู่ ณ ดินแดนซึ่งเป็นประเทศจีนในปัจจุบันนี้ ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่น่าสงสาร ก่อนพุทธศักราช ถูกรุกรบ จนต้องถอยร่น จากแดนทำกินอันอุดมสมบูรณ์ของ ๒ ฟาก ลุ่มแม่น้ำฮวงโห และยั่งจือ เรียกว่า อาณาจักรอ้ายลาว หรือ ไทยมุง หรือ ไทยเมือง ซึ่งเป็น มณฑลเสฉวน ฮูเป อันฮุย และเกียงซี ไทยต้องอพยพหลบหลีกความเป็นทาสมาทางตอนใต้เรื่อยมา โดยถือหลักไปตายเอาดาบหน้า ดีกว่าเป็นขี้ข้าของชาติอื่น
ด้วยสันดานเป็นไทย และนิสัยเป็นนักรบมาหลายชั่วอายุคน ด้วยรักสันติ รักอิสระไม่ยอมเป็นทาสใคร ต้องต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด เพื่อมาตุภูมิ เพื่อคนที่ตนรัก นับครั้งไม่ถ้วน เพื่อเป็นการไม่ประมาท บรรดาพฤธ์หรือพ่อเฒ่า ตามปัจจันท์ชนบท (ชายเขตแดนติดต่อแดนต่างประเทศ) ได้พยายามสร้างสมบรรดาชายหนุ่มของหมู่บ้านด้วยอุปเท่ห์ การเล่น “ออกแรง” เช่นการปล้ำ วิ่งวัว พายเรือแข่ง เสือข้ามห้วย จงอางหวงไข่ และไม้ลอย (การห้อยโหนตีลังกาในที่สูง) และเพื่อการป้องกันตัว พ่อเฒ่าทั้งหลายได้เพียรพยายามรวบรวมคิดค้นวิธีต่อสู้ติดต่อกันตลอดหลายชั่วคน จากบรรพบุรุษที่ผ่านการรบมานานนับพันปี จนสามารถกำหนดเป็นหลักเกณฑ์เฉพาะคนไทยด้วยเชิง “ชิงคม” และ “พันลำ” อันก่อให้เกิดความครั่นคร้ามแก่ศัตรูผู้รุกรานทั่วไป
อาจารย์เขตร์ ศรียาภัย (อาจารย์ปู่ของผู้เขียน) กล่าวไว้ว่า
" มวย หมายถึง การชกต่อยตามแต่ครูจะสอน หรือการต่อสู้เพื่อเอาตัวรอด”
มวยไทย หมายถึง... “ศิลปะศาสตร์ซึ่งบรรพบุรุษได้เพียรพยายามสืบทอดและพัฒนายกระดับวิธีต่อสู้ป้องกันตัวมอบให้เป็นมรดกแก่ลูกไทยนับเป็นพันปีมาแล้ว มวยไทยขนานแท้นั้นไม่มีชนชาติใดสามารถแสดงได้ดีเท่าคนไทย แต่ปัจจุบันนี้มวยไทยถูกดัดแปลงจนสิ้น หนักไปทางใช้พละกำลัง ขาดศิลปะ และประเพณีนิยม”
(ปรมาจารย์ เขตร์ ศรียาภัย)
“ครูแปรง”
มูลนิธิมวยไทยไชยา
นิตยสาร siam combat
เล่ม ๒ ธันวาคม ๒๐๐๓
คำปรารภ
...เมื่อผู้เขียนได้รับการทาบทามให้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่อง มวยไทยโบราณและมวยคาดเชือกไชยา ผู้เขียนรู้สึกว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่จะเขียนถึงวิชาที่สูญไปจากวงการนับร้อยปี ทำให้ต้องไตร่ตรองอยู่หลายวัน ด้วยเหตุหลาย ๆ ประการ แต่เมื่อได้ทบทวนดูแล้ว ถ้าผู้เขียนจะเก็บเอาความรู้ที่ครูบาอาจารย์ได้พร่ำอบรมสั่งสอนอย่างอดทน เพื่อจะนำพาไปสัมปรายภพด้วยอย่างไร้ความหมาย ย่อมอกตัญญูต่อครูบาอาจารย์และชาติอย่างไม่น่าให้อภัย จึงปลงตก ถือเสียว่าเป็นการทำเพื่อถวายพระคุณของครู และสนองคุณแผ่นดินก่อนตาย
ข้อเขียนทั้งหลายและต่อ ๆ ไปในภายภาคหน้า (หากมีผู้สนใจติดตาม) ขอให้ทราบไว้ด้วยว่าผู้เขียนได้เขียนตามที่ผู้เขียนได้ศึกษาเล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ ซึ่งอาจผิดแผกไปจากของคณาจารย์ของสำนักอื่น ๆ ก็อาจเป็นได้ และบางช่วงบางตอนอาจเป็นคำกล่าวคำพูดของครู ของอาจารย์ปู่ และบาจรีย์ทุกท่าน ที่ได้เคยเขียนเคยพูดและเคยฝากผลงานไว้เป็นเลิศแล้วเมื่ออดีตกาล อันเป็นการเชิดชูผลงานของท่าน มิได้อวดรู้ อวดภูมิ ตีตนเสมอครูบาอาจารย์ แต่อย่างใด เพราะความรู้ผู้เขียน เปรียบเหมือนแสงหิ่งห้อยที่ไม่อาจหาญเปรียบแสงสุริยะฉาย
ลูกหลานโปรดจำไว้
“เป็นครูท่าเดียว วันเดียว เดือนเดียว ปีเดียว...ถือเป็นครูตลอดชีวิต จงกตัญญูและตอบแทนดูแลท่านตามควร "
....................................................
ปฐมบท
...สิ่งมีชีวิตทุกสิ่งเกิดมาย่อมต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการมีชีวิตอยู่รอด ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ประเสริฐที่เรียกตัวเองว่า มนุษย์ ต่างต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อชีวิตอยู่รอดนับแต่ยังไม่ปฏิสนธิเสียอีก สัตว์โลกย่อมมีวิธีการต่อสู้เฉพาะที่ร้ายกาจเหมาะกับตัวมันเอง เพื่อเอาตัวรอด เพื่อหาอาหาร สัตว์เดรัจฉานแสดงอาการต่อสู้โดยสัญชาติญาณ ส่วนเวไนยสัตว์ (สัตว์ที่สอนได้) หรือมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐ นับเป็นผู้ที่มีสมองและสติปัญญาสามารถที่พัฒนาได้อย่างไม่สิ้นสุด ย่อมมีการวิวัฒนาการและพัฒนาการการต่อสู้ที่มีสมรรถภาพอย่างไม่หยุดยั้ง
หากเรามีความเชื่อในทฤษฎีที่ว่ามนุษย์มีวิวัฒนาการมาจากวานร ตามประวัติมนุษยชาติ มนุษย์ย่อมมีการต่อสู้กันนับตั้งแต่เริ่มไต่ลงมาจากต้นไม้ เมื่อประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว อีกทั้งสัญชาติญาณดิบนับแต่เป็นวานรย่อมยังคงหลงเหลือติดอยู่ในสายเลือดอยู่บ้างไม่มากก็น้อย มนุษย์สมัยดึกดำบรรพ์จึงต่อสู้กันไม่ต่างไปจากสัตว์เดรัจฉานมากนัก คือสู้กันตามสัญญาณชาติดิบ ๆ ที่มีมาตามธรรมชาติ โดยใช้อวัยวุธ (อวัยวะของร่างกายที่ใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้) ในร่างกายทุกอย่างที่ธรรมชาติประทานมา ทำร้ายซึ่งกันและกัน “ปากกัด ตีนถีบ มือฉุด ข่วน ตะปบ แขนฟาด หมัดต่อย ทุบ ศอกถอง เข่ากระทุ้ง ก้นกระแทก แบกบ่า ทุ่มทับ จับหัก ควักนัยน์ตา ฯลฯ” หยิบฉวยได้สิ่งใดใกล้มือที่ใช้ทำร้ายคู่ต่อสู้ได้ ก็ใช้สิ่งนั้น เช่นกระดูกสัตว์ กิ่งไม้ ก้อนหิน กระบอง ลูกดอก หน้าไม้ กระสุน ซึ่งชนะก็แย่แพ้ก็เกือบตาย อันเป็นการใช้พละกำลังเข้าหักหาญกันโดยแท้ (ยังขาดศาสตร์และศิลป์เพราะยังไม่พัฒนา) มีอยู่อย่างเดียวก็คือเพื่อเอาตัวรอดเท่านั้น มนุษย์ในสมัยโบราณจึงต่อสู้เพื่อเหตุใหญ่ ๆ ๒ ประการคือ
๑. แย่งอาหาร และแดนหากิน
๒. เกิดการหึงหวงมนุษย์ที่ออกลูกได้
...การต่อสู้ในสมัยดึกดำบรรพ์ ขณะที่มนุษย์อยู่ถ้ำ อยู่โพรงไม้ มักเป็นการต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว หรือเป็นเฉพาะครอบครัวเล็ก ๆ เพียงครอบครัวเดียวเท่านั้น แต่โดยแท้แล้วมนุษย์เป็นสัตว์ที่เกิดมาอย่างมีสัญชาติญาณแห่งความขลาดกลัว และสัญญาแห่งการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสังคม มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความฉลาด มีปัญญา ความเจ็บปวด ความตาย ความสูญเสีย ความเสียใจ ความโศกเศร้า ทำให้มนุษย์ เกิดความคิดรู้จักคบค้าสามัคคีไปมาหาสู่กัน และรีรอกัน อันนับเป็นปฐมการณ์อย่างหนึ่งที่ทำให้มนุษย์รวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นชุมชน จากกลุ่มเล็ก ๆ เป็นกลุ่มใหญ่ จนเป็นรัฐและเป็นประเทศชาติขึ้น การตัดสินปัญหาข้อพิพาทและการต่อสู้กันด้วยกำลังของมนุษย์จึงเริ่มเปลี่ยนไปเป็นถ้อยทีถ้อยอาศัยอนุโลม ปฏิโลมต่อกัน
ดูเหมือนจะเป็นการดีเมื่อมนุษย์สามารถรวมกันเป็นพวกได้ กรณีพิพาทกันเองดูน้อยลง และแก้ไขได้ตามกฎระเบียบของกลุ่มชนที่มีการตกลงร่วมกัน ความระแวงระวังแบบสัญชาติญาณป่าน้อยลง รู้สึกอบอุ่นขึ้น แต่การรวมกลุ่มของมนุษย์มิได้มีกลุ่มเดียว มิใช่มีเพียงชนเผ่าเดียว ความเห็นความคิดของแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน ภาษาต่างกัน อุดมคติ อารมณ์ต่างกัน ความเชื่อต่างกัน มนุษย์ยิ่งเจริญขึ้นมนุษย์ยิ่งมีการขัดแย้งต่อสู้กันรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมพิพาทกันเพื่อแย่งชิงอาหารแดนทำกิน แย่งมนุษย์ที่ออกลูกได้ ยังต่อสู้กันเพราะขอช้างเผือกไม่ได้ดังใจ ขอคืนหญิงงามไม่สำเร็จ มีหลายสาเหตุที่อาจพิพาทกันได้ทุกเมื่อ การต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว กลายเป็นมหาสงครามระหว่างประเทศ
กำเนิดของพาหุยุทธ์มวยไทยโบราณ
...ตามประวัติศาสตร์ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ชนชาติไทย ถูกสันนิษฐานว่ามีอายุไร่เรี่ยกับความเจริญของชาวอียิปต์ บาบิโลเนีย และอัสสิเรีย ไทยเป็นชาติที่มีความเจริญมาก่อนจีน และก่อนชาวยุโรป มีการปกครองและมีระเบียบแบบแผนเป็นปึกแผ่น อยู่ ณ ดินแดนซึ่งเป็นประเทศจีนในปัจจุบันนี้ ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่น่าสงสาร ก่อนพุทธศักราช ถูกรุกรบ จนต้องถอยร่น จากแดนทำกินอันอุดมสมบูรณ์ของ ๒ ฟาก ลุ่มแม่น้ำฮวงโห และยั่งจือ เรียกว่า อาณาจักรอ้ายลาว หรือ ไทยมุง หรือ ไทยเมือง ซึ่งเป็น มณฑลเสฉวน ฮูเป อันฮุย และเกียงซี ไทยต้องอพยพหลบหลีกความเป็นทาสมาทางตอนใต้เรื่อยมา โดยถือหลักไปตายเอาดาบหน้า ดีกว่าเป็นขี้ข้าของชาติอื่น
ด้วยสันดานเป็นไทย และนิสัยเป็นนักรบมาหลายชั่วอายุคน ด้วยรักสันติ รักอิสระไม่ยอมเป็นทาสใคร ต้องต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด เพื่อมาตุภูมิ เพื่อคนที่ตนรัก นับครั้งไม่ถ้วน เพื่อเป็นการไม่ประมาท บรรดาพฤธ์หรือพ่อเฒ่า ตามปัจจันท์ชนบท (ชายเขตแดนติดต่อแดนต่างประเทศ) ได้พยายามสร้างสมบรรดาชายหนุ่มของหมู่บ้านด้วยอุปเท่ห์ การเล่น “ออกแรง” เช่นการปล้ำ วิ่งวัว พายเรือแข่ง เสือข้ามห้วย จงอางหวงไข่ และไม้ลอย (การห้อยโหนตีลังกาในที่สูง) และเพื่อการป้องกันตัว พ่อเฒ่าทั้งหลายได้เพียรพยายามรวบรวมคิดค้นวิธีต่อสู้ติดต่อกันตลอดหลายชั่วคน จากบรรพบุรุษที่ผ่านการรบมานานนับพันปี จนสามารถกำหนดเป็นหลักเกณฑ์เฉพาะคนไทยด้วยเชิง “ชิงคม” และ “พันลำ” อันก่อให้เกิดความครั่นคร้ามแก่ศัตรูผู้รุกรานทั่วไป
อาจารย์เขตร์ ศรียาภัย (อาจารย์ปู่ของผู้เขียน) กล่าวไว้ว่า
" มวย หมายถึง การชกต่อยตามแต่ครูจะสอน หรือการต่อสู้เพื่อเอาตัวรอด”
มวยไทย หมายถึง... “ศิลปะศาสตร์ซึ่งบรรพบุรุษได้เพียรพยายามสืบทอดและพัฒนายกระดับวิธีต่อสู้ป้องกันตัวมอบให้เป็นมรดกแก่ลูกไทยนับเป็นพันปีมาแล้ว มวยไทยขนานแท้นั้นไม่มีชนชาติใดสามารถแสดงได้ดีเท่าคนไทย แต่ปัจจุบันนี้มวยไทยถูกดัดแปลงจนสิ้น หนักไปทางใช้พละกำลัง ขาดศิลปะ และประเพณีนิยม”
(ปรมาจารย์ เขตร์ ศรียาภัย)
“ครูแปรง”
มูลนิธิมวยไทยไชยา
นิตยสาร siam combat
เล่ม ๒ ธันวาคม ๒๐๐๓
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)